ข้อความต้นฉบับในหน้า
10.3 ความสำเร็จอยู่ที่การเริ่มต้นของตนเอง
เมื่อคุณกโมคคัลลานพราหมณ์ได้ฟังวิธีศึกษาในพระพุทธศาสนาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนชัดเจนจบแล้ว
จึงทูลถามพระองค์ว่า เมื่อพระองค์ทรงสอนอย่างนี้ พระภิกษุได้บรรลุพระนิพพานกันทุกรูปหรือไม่ พระองค์
ทรงตอบว่า “ไม่” พร้อมทั้งได้อุปมาให้พราหมณ์เข้าใจ โดยเปรียบการบรรลุนิพพานกับการเดินทางไป
เมืองราชคฤห์ของบุรุษ 2 คน คือทั้งสองคนมาถามทางกับผู้รู้ทางไปเมืองนั้น เมื่อบอกทางแล้ว คนหนึ่งจับ
ทางผิด เดินไปในทางตรงข้ามก็ย่อมไปไม่ถึงตรงข้ามกับคนที่เดินตามทางที่บอกไว้ในที่สุดก็จะเดินไปจนถึงเมือง
นั้น แล้วพระองค์จึงตรัสสรุปว่า
“ดูก่อนพราหมณ์ ในเมื่อนิพพานก็มีอยู่ ทางไปนิพพานก็มีอยู่ เราผู้ชักชวน
ก็มีอยู่ แต่ก็สาวกของเราอันเราโอวาทสั่งสอนอยู่อย่างนี้ บางพวกเพียง
ส่วนน้อยสําเร็จนิพพานอันมีความสำเร็จล่วง ส่วนบางพวกก็ไม่สำเร็จ
ดูก่อนพราหมณ์ ในเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไรได้ ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก
หนทาง...”
จากพระพุทธดำรัสนี้ ย่อมแสดงว่าความสำเร็จของการฝึกฝนนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับใคร นอกจากตัว
ของพระภิกษุเอง ที่จะนำความรู้ที่ได้ศึกษานั้น ไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจังในวิถีชีวิตของตนเอง
10.4 การเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลก
เมื่อพระภิกษุสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้กับตนเองได้แล้ว ก็ต้องทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้กับผู้
อื่นด้วยต่อไป ทั้งนี้เพราะสาธุชนเป็นผู้มีคุณ ที่คอยช่วยสนับสนุนปัจจัย 4 และสิ่งที่จำเป็น ทำให้พระภิกษุ
ไม่ต้องกังวลกับการเลี้ยงชีพใดๆ จึงมีเวลาที่จะศึกษาตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มากกว่า ดังนั้น
เมื่อถึงเวลา ก็ควรต้องทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ทางธรรมกลับคืนไปยังสาธุชน สมดังที่พระพุทธองค์ตรัส
ไว้ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก
แก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
พหุการสูตร, อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, มก. เล่ม 45 ข้อ 287 หน้า 677
228 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระ
ระ พุ ท ธ ศ า ส น า