ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อพระภิกษุเป็นผู้ทรงภูมิรู้ภูมิธรรมก็สามารถทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ญาติโยมได้เป็นอย่างดี
เพราะได้ฝึกฝนตน จนรู้จัก เข้าใจในตนเอง เมื่อเข้าใจตนเองเสียแล้ว ย่อมเข้าใจผู้อื่นไปด้วย เพราะทุกคน
ล้วนมีกิเลสที่ซุกซ่อนในใจเหมือนกัน และมีเชื้อแห่งการทำความดี อยากที่จะเป็นคนดีเหมือนๆ กันด้วย แต่
บางคนไม่รู้วิธีว่าคนดีคือใคร ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร สังคมจึงมีทั้งคนดี และไม่ดีปะปนกัน หากคนเหล่านี้
ได้กัลยาณมิตรที่ฝึกฝนตนเองมาอย่างดี คอยแนะนำชี้แนะ ก็ย่อมมีโอกาสเป็นคนดีได้ รวมทั้งสามารถพัฒนา
ตัวเองเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้อื่นได้ด้วย
ในการทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรนั้น พระภิกษุสามารถอาศัยวิธีการจากธัมมัญญสูตร 2 ประการ
คือ “ปริสัญญ” ความเป็นผู้รู้จักกลุ่มคน และ “บุคคลปโรปรัญญู” การรู้จักเลือกคน มาใช้ ซึ่งรายละเอียด
ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ผ่านมา
10.5 ทาน ศีล ภาวนา กับ ธัมมัญญูสูตร
ดังที่ได้อธิบายมาแล้วว่า ขั้นตอนการฝึกของพระภิกษุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ปฏิบัติ
ไปตามขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตร ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติขัดเกลา เข้ากับวิถีชีวิตของพระภิกษุโดยตรง และ
ได้ผลอย่างรวดเร็ว แต่โดยสาระแล้ว ก็คือการฝึกเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ซึ่งก็คือฝึกไปตาม
ศีล สมาธิ ปัญญา โดยมีเป้าหมายคือการน้อมใจกลับมาหยุดนิ่งตั้งมั่นอยู่ภายในตัวโดยที่ศีลจะทำหน้าที่ควบคุม
กายและวาจาไว้ สมาธิจะควบคุมใจไม่ให้ออกไปนอกตัว จนกระทั่งหยุดนิ่ง จึงเกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริงใน
สรรพสิ่งทั้งหลาย แม้กระทั่งกิเลสที่หมักหมมอยู่ในใจก็จะถูกกำจัดให้หมดสิ้นไปโดยปัญญา
แต่สำหรับฆราวาสผู้ครองเรือนนั้น การจะฝึกปฏิบัติเช่นเดียวกับพระภิกษุก็คงไม่ได้ ทั้งนี้
เนื่องจากแต่ละเพศภาวะก็มีปัจจัยและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป เช่น การมีภาระครอบครัว การทำธุรกิจ
การงานเพื่อเลี้ยงชีพ เป็นต้น ดังนั้นสิ่งที่ฆราวาสพอจะทำได้ ก็คือต้องนำหลักการจากคุณกโมคคัลลานสูตร
มาใช้ ซึ่งก็คือ การฝึกเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ของกาย วาจา ใจ นั่นเอง เมื่อได้หลักการที่ชัดเจนอย่างนี้
ก็เหลือเพียงแค่เลือกขั้นตอนการฝึกที่ทำให้ได้ผลแบบเดียวกัน โดยที่ฆราวาสก็สามารถฝึกไปได้ทุกวัน และ
เหมาะสมสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตของตนเอง ซึ่งขั้นตอนการฝึกที่เหมาะสมนั้น ก็คือ “ทาน ศีล และ
การเจริญสมาธิภาวนา” อย่างที่แนะนำไว้ตั้งแต่ต้นนั่นเอง ส่วนวิธีการปฏิบัติให้ได้รับผลสำเร็จนั้น ฆราวาส
ก็ควรนำวิธีการจากธัมมัญญูสูตรมาใช้โดยเลือกปรับบางสิ่งบางอย่างให้สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของตนเอง
เมื่อฝึกปฏิบัติไปอย่างจริงจัง ก็จะได้รับผลดังที่เคยกล่าวไว้ คือ
“การทำทาน” จะเป็นเหตุให้ใจคลายจากความตระหนี่หวงแหน เป็นการกำจัดกิเลส คือ โลภะ ซึ่ง
จะทำให้ใจไม่ไปติดกับสิ่งของนอกตัวมากเกินไป จึงเป็นพื้นฐานให้การฝึกในเรื่องอื่นๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้น
“การรักษาศีล” เมื่อใจคลายเพราะได้พื้นฐานมาจากการทำทาน ก็จะไม่อยากเบียดเบียนทำร้ายเพื่อ
230 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา