ข้อความต้นฉบับในหน้า
ธรรมชาติอันบริสุทธิ์นี้ พระพุทธองค์ทรงเรียกว่า “สัจธรรม” เป็นธรรมที่พระองค์ไปตรัสรู้มา แล้ว
จึงนำธรรมนั้นมาเทศนาสั่งสอนต่อไป เรียกว่า “เทศนาธรรม” เมื่อผู้ฟังนำธรรมนั้นไปปฏิบัติเพื่อขัดเกลา กาย
วาจา ใจ ให้เกิดผล ก็เรียกว่า “ศีลธรรม” และหมั่นปฏิบัติจนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยรักความดี เกลียดความชั่ว
ฝังแน่นอยู่ในใจ ก็จะกลายเป็น “คุณธรรม” ประจำใจของคนๆ นั้นขึ้นมา
สำหรับคำว่า “ธัมมัญญู ผู้รู้ธรรม” ในที่นี้หมายถึงการรู้จัก “เทศนาธรรม” ทั้งนี้เนื่องจากว่า ธรรมะ
ที่พระองค์ทรงเทศน์มาตลอด 45 พรรษานั้น มีความหลากหลายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของ
ผู้ฟังว่ามีจริตอัธยาศัย มีพื้นฐานความรู้หรือความถนัดอย่างไร ตัวอย่างเช่น บางครั้งผู้ถามถามในรูปแบบ
ของโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน พระองค์ก็จะเทศน์สอนกลับไปในลักษณะเดียวกัน และบางครั้งก็มีรูปแบบ
การเทศน์เฉพาะแบบไป เช่น สอนในส่วนที่เป็นข้อบังคับ เรียกว่า วินัย หรือบางครั้งก็เทศน์โดยใช้วิธี
ระลึกชาติมาตรัสเล่าให้ฟัง ซึ่งรูปแบบการเทศน์ที่แตกต่างอย่างนี้ พระองค์ทรงแบ่งออกเป็น 9 ประเภท คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ
3.2.3 นวังคสัตถุศาสน์
คำสอนทั้ง 9 ประเภทนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “นวังคสัตถุศาสน์” ซึ่งเป็นธรรมะทั้งหมดที่พระองค์
ทรงเทศนาไว้ในครั้งพุทธกาล ธรรมะเหล่านั้น พระภิกษุที่ได้ยินได้ฟังช่วยกันทรงจำเอาไว้ และถ่ายทอดบอกต่อ
จากรุ่นสู่รุ่นเรื่อยไป จนกระทั่งกลายมาเป็นพระไตรปิฎกในยุคปัจจุบัน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ปิฎก คือ
1. พระวินัยปิฎก รวบรวมเรื่องวินัย หรือศีลของพระภิกษุและภิกษุณี ซึ่งในที่นี้ก็คือธรรมะบางส่วน
ใน “สุตตะ”
2. พระสุตตันตปิฎก รวบรวมเรื่องพระธรรมเทศนาทั่วๆ ไป ซึ่งในที่นี้ได้แก่ธรรมะบางส่วนในสุตตะ
และเวยยากรณะ กับเคยยะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม และเวทัลละ
3. พระอภิธรรมปิฎก รวบรวมเรื่องธรรมะล้วนๆ ที่เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งในที่นี้ก็คือส่วนที่เป็น
“เวยยากรณะ”
ดังนั้น การรู้ธรรมในปัจจุบัน จึงหมายถึง “การรู้ธรรมที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก” นั่นเอง
องค์ 9 แห่งคําสอนพระศาสดา หรือธรรมะ 9 ประเภทที่เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
บทที่ 3 ขั้ น ต อ น ที่ 1 ธั ม มั ญ ญ DOU 59