การเป็นอัตถัญญูในพระพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 93
หน้าที่ 93 / 252

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการฝึกฝนเพื่อเป็นอัตถัญญูในพระพุทธศาสนา โดยเน้นว่าการเข้าใจนัยที่แท้จริงในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และการนำคำสอนมาฝึกปฏิบัติ จนเกิดผลที่เป็นความบริสุทธิ์ในกาย วาจา ใจ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงบุคคลให้เป็นผู้ที่มีศีลาจารวัตรงดงาม สะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์และบุคลิกที่เหมาะสม ซึ่งจะสร้างความเลื่อมใสแก่ผู้คนในสังคมและพระพุทธศาสนา และยังมีแนวทางในการฝึกอบรมของฆราวาสเพื่อให้เข้าใจนัยของธรรมะอย่างถูกต้อง โดยจะต้องมีครูและการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องที่เข้าวัดและฟังธรรมเพื่อเพิ่มพูนความเข้าใจ.

หัวข้อประเด็น

-การฝึกฝนเป็นอัตถัญญู
-การเข้าใจนัยในธรรมะ
-ศีลาจารวัตรของพระภิกษุ
-การปฏิบัติในชีวิตประจำวัน
-แนวทางการฝึกอบรมฆราวาส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากตัวอย่างข้างต้น ย่อมแสดงให้เห็นว่าการนำนัยจากเสขิยวัตรที่มีในปาฏิโมกขสังวร มาฝึกฝน ประพฤติปฏิบัติเป็นกิจวัตรประจำวัน ทำซ้ำแล้วซ้ำอีก กระทั่งถูกหล่อหลอมเข้าไปเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ กาย วาจา ใจของตนเอง จนเกิดสติสัมปชัญญะ มีอินทรีย์สงบสำรวม ทำจนคุ้นกลายเป็นนิสัย บุคลิกท่าทาง ก็จะเปลี่ยนไป เกิดมาตรฐานให้กับตัวเอง ทั้งการนุ่งห่ม การเดิน การยืน การนั่ง การฉัน กิริยาอาการต่างๆ รวมทั้งการพูดจาจะแลดูเหมาะสมไม่ว่าจะออกไปที่ใดก็จะเป็นภาพลักษณ์ของพระภิกษุผู้ฝึกตัวดีมีศีลาจารวัตร งดงามเหล่านี้เป็นคุณธรรมที่เกิดขึ้นพร้อมกับความเป็นอัตถัญญูผู้รู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ หรือผู้แตกฉานใน ธรรมนั่นเอง นอกจากนี้ยังทำความเลื่อมใสศรัทธาแก่มหาชน หมู่คณะ และพระพุทธศาสนาอีกด้วย 4.6 บทสรุปของการเป็นอัตถัญญู จากรายละเอียดที่ได้ศึกษามา พอจะสรุปในเบื้องต้นได้ว่า พระภิกษุผู้จะเป็นอัตถัญญูได้นั้น จะต้อง 1. เข้าใจนัยหรือความหมายที่แท้จริงในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2. สามารถนำคำสอนนั้น มาฝึกปฏิบัติจนเกิดผลเป็นความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ในระดับต่างๆ เมื่อพระภิกษุฝึกได้อย่างนี้แล้ว พระองค์จึงจะทรงรับรองว่า “ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูด้วยประการฉะนี้” 4.7 วิธีฝึกฝนอบรมตนเองของฆราวาสเพื่อการเป็นอัตตัญญู วิธีการฝึกฝนอบรมตนเองของฆราวาสเพื่อการเป็นอัตถัญญู ก็จะมีส่วนคล้ายกับของพระภิกษุ แต่ความเข้มข้นจะแตกต่างออกไป ดังที่จะได้กล่าวในลำดับต่อไป 4.7.1 การเข้าใจนัยได้อย่างถูกต้อง โดยธรรมชาติแล้ว การที่ใครคนใดคนหนึ่งจะเข้าใจในนัย หรือความหมายของธรรมะได้อย่างลึกซึ้ง เป็นไปได้ยากมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยบุคคลที่มีความรู้ผู้ซึ่งได้ศึกษาธรรมะมามาก ฝึกฝนตนเองมา มาก มาเป็นผู้คอยแนะนำ ซึ่งบุคคลผู้นั้นก็คือ ครูผู้สอนธรรมะ หรือพระภิกษุสงฆ์ ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้ เข้าใจนัยหรือความหมายในธรรมะให้มากยิ่งขึ้น จำเป็นต้องเข้าวัดเป็นประจำ หมั่นฟังธรรมบ่อยๆ และเมื่อเกิด ความสงสัย ก็ต้องเข้าไปสอบถามจากท่าน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันต้องลงมือปฏิบัติ ฝึกฝนอบรมตนเองไปด้วย 82 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More