ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. เพื่อให้ความลำบากทางกายที่เกิดจากความหิวหายไป
4. เพื่อให้สามารถประพฤติพรหมจรรย์ได้ดียิ่งขึ้นด้วยการฉันแต่พอดีแก่ความต้องการของร่างกาย
คือ ฉันพอแค่อิ่มท้อง ไม่ฉันมากไปจนอึดอัด
5. เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ และมีความสบายแก่ตัว
เสนาสนะ หรือที่พักอาศัย มีวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้
1. สําหรับบรรเทาความหนาวและร้อน
2. สำหรับบรรเทาจากการถูกกัดหรือทำร้ายจากสัตว์และแมลง
3. สำหรับบรรเทาอันตรายที่เกิดในฤดูต่างๆ เช่น ความร้อน ความหนาว หรือฝน เป็นต้น
4. สำหรับการหลีกออกเร้นเพื่อเจริญสมาธิภาวนา
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หรือยารักษาโรค มีวัตถุประสงค์ในการใช้ ก็เพื่อกำจัดความทุกข์ทรมาน
ที่เกิดขึ้นจากความเจ็บไข้ได้ป่วย
6.3.2 ปริมาณและประเภทของปัจจัย 4
นอกจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะทรงให้แนวทางแก่พระภิกษุในการใช้ปัจจัย 4 ตามวัตถุประสงค์
ที่ถูกต้องแล้ว พระองค์ยังให้ความสำคัญกับประเภทและปริมาณของปัจจัย 4 อีกประการหนึ่งด้วย เพราะ
เมื่อใดก็ตามที่เราใช้ปัจจัย 4 ได้อย่างถูกต้องแล้ว ปริมาณที่มากเกินไปย่อมไม่ได้ทำให้ชีวิตสมบูรณ์ขึ้น เช่น
ถ้าเสื้อผ้ามีไว้เพื่อบรรเทาหนาวและร้อนป้องกันแมลงและสัตว์ร้าย และปกปิดอวัยวะที่น่าละอายเท่านั้น การมี
เสื้อผ้าหลากหลายสีสัน หลากหลายรูปทรง ก็แทบจะไม่จำเป็นเลย ถ้าอาหารมีไว้เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต ช่วยให้
ร่างกายมีเรี่ยวแรงไปทำกิจกรรมที่สำคัญปริมาณอาหารที่มากจนเกินกว่าที่จะบริโภคได้นั้นก็ไม่มีความจำเป็น
ถ้าที่อยู่อาศัยมีไว้เพื่อบรรเทาหนาวและร้อน ป้องกันแมลงและสัตว์ร้าย หรืออันตรายจากฤดูกาลที่
เปลี่ยนแปลงไป การมีที่อยู่ใหญ่โตมากเกินไป ก็แทบไม่จำเป็น ถ้ายารักษาโรคมีไว้เพื่อกำจัดความทุกข์
ทรมานจากโรคภัย ไข้เจ็บแล้ว ยาบำรุงอื่นๆ ที่มีวางขายตามท้องตลาดหลากหลาย แต่ไม่ได้เป็นประโยชน์
แก่ร่างกาย ก็แทบจะไม่จําเป็น
เพราะเหตุที่กล่าวมานั้น การมีปริมาณปัจจัย 4 ที่พอดี จึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการมีอย่างมากมาย
เกินจำเป็น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ทรงเห็นความสำคัญในข้อนี้ จึงทรงพิจารณาปริมาณที่พอดี
เพื่อให้พระภิกษุได้ใช้ปัจจัย 4 ด้วยความแยบคาย ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้
120 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา