ข้อความต้นฉบับในหน้า
3. โลกไม่มีอะไรเป็นของตน จำต้องละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป หมายถึง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขทั้ง
หลายในทางโลกนี้ เมื่อตายไปแล้วก็เอาติดตัวไปไม่ได้สักอย่างเดียว
4. โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา หมายถึง คนเรามีความอยากได้อยู่ตลอด
เวลา ไม่รู้จักพอ ไม่มีวันอิ่ม เป็นทาสของกิเลสตัณหาเรื่อยไป
เพราะความจริงทั้ง 4 ประการนี้ จึงเป็นเหตุให้ท่านพระรัฐปาละเห็นว่าชีวิตของคนเรานี้มีแต่ความ
ทุกข์ ร่างกายที่เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา ย่อมจะไม่มีค่าอะไร หากไม่ได้ใช้ร่างกายนี้ไปเพื่อการทำความดี”
การกล่าวถึงความตาย บางคนอาจมีความคิดว่าพระพุทธศาสนามองโลกในแง่ร้ายมากเกินไป แต่
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าความจริงก็ต้องเป็นความจริงอยู่นั่นเอง ผู้มีปัญญา จึงควรนำความจริงนั้นมากระตุ้น
ให้ตนเองได้สร้างความดีเช่นเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนพระภิกษุให้หมั่นพิจารณาถึงความตายอยู่
เนืองนิตย์ ไม่ใช่เพื่อให้เรากลัวความตาย แต่ให้อาศัยความจริงนั้นเพื่อกระตุ้นเตือนตนเองให้ทำความดี
ดังที่พระองค์ตรัสไว้ใน จตุตถปฏิปทาสูตร ว่า
สมัยหนึ่ง พระองค์ตรัสสอนพระภิกษุว่าควรจะได้เจริญมรณสติ คือ ระลึกถึงความตายทั้งกลางวัน
และกลางคืน โดยไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน ก็ให้นึกว่าอาจมีเหตุให้เราตายได้ตลอดเวลา เช่น อาจถูกงูกัด แมงป่อง
ต่อย ตะขาบกัด พลาดหกล้ม อาหารไม่ย่อย ถูกคนทำร้าย หรือถูกอมนุษย์เบียดเบียน แล้วจึงพิจารณาต่อ
ไปว่า บาปอกุศลทั้งหลายที่จะเป็นอันตรายหากเราตายไปนั้น ตอนนี้เราละได้แล้วหรือยัง ถ้ายังก็ให้รีบทำความ
เพียรเพื่อละบาปอกุศลนั้นเสีย เหมือนกับคนมีผ้าถูกไฟไหม้ หรือที่ศีรษะถูกไฟไหม้ ก็จะต้องรีบดับไฟนั้นให้ได้
โดยเร็ว
คนเราเมื่อยังแข็งแรงอยู่ย่อมไม่รู้สึกถึงความตายที่กำลังย่างกรายมาถึง ต่อเมื่อต้องนอนอยู่
บนเตียงผู้ป่วย จึงจะเข้าใจ และเริ่มหาที่พึ่งสุดท้ายให้กับชีวิต บางครั้งเพื่อความไม่ประมาท ทุกคนควร
มีโอกาสถามคำถามกับตนเอง ว่าเมื่อถึงวันที่เราต้องจากโลกนี้ไป วันนั้นเราอยากทำอะไรที่สุด แต่แน่นอน
ว่าคำตอบที่ได้ย่อมแตกต่างกันไป ตามแต่ใครจะมีปัญญาเพียงพอจะมองความจริงของโลกและชีวิต
ออกว่าเป็นอย่างไร ในเรื่องนี้มีตัวอย่างที่ดี ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงถามคำถามให้พระเจ้าปเสนทิโกศล
ตอบใน ปัพพโตปมสูตร ว่า
เรียบเรียงจาก จตุตถปฏิปทาสูตร, อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต, มก. เล่ม 37 ข้อ 171 หน้า 641
"การระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา เป็นข้อหนึ่งในการบำเพ็ญกรรมฐาน ที่เรียกว่า อนุสติ
เรียบเรียงจาก ปัพพโตปมสูตร, สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 24 ข้อ 411 หน้า 522
148 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา