ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้น ในการหลีกออกเร้น จึงเน้นในการฝึกปฏิบัติเพื่อขัดเกลาจิตใจ หรือ “อัตถัญญู” และการ
ประเมินคุณธรรมภายในหรือ “อัตตัญญู”
สรุปได้ว่า กาลทั้ง 4 ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พระภิกษุฝึกปฏิบัติ ก็คือกิจวัตรที่มีลำดับ
ความสำคัญสูงสุด 4 ประการ หากพระภิกษุหวังที่จะมีคุณธรรมก้าวหน้า ก็ต้องพยายามใช้เวลาส่วนใหญ่
ในแต่ละวัน เพื่อมาทำเรื่องทั้ง 4 ให้สมบูรณ์ ส่วนเวลาที่เหลือนอกจากนั้น จึงค่อยแบ่งไปทำกิจอื่นๆ ที่สำคัญ
รองลงไป
7.5.2 ความสัมพันธ์ของกาลทั้ง 4 ที่มีต่อการทำพระนิพพานให้แจ้ง
จากการบริหารเวลาเพื่อมาทำกิจวัตรที่สำคัญที่สุด 4 ประการดังที่กล่าวมา เราอาจสรุปได้ว่า
“การเรียน” และ “การสอบถาม” คือการศึกษาพระพุทธศาสนาในด้าน “ปริยัติ” ในขณะเดียวกัน “การประกอบ
ความเพียร” และ “การหลีกออกเส้น” คือการศึกษาในด้าน “ปฏิบัติ” ซึ่งถ้าพระภิกษุได้หมั่นตอกย้ำหมั่น
ฝึกฝนตนเองทั้งด้าน “ปริยัติ” และ “ปฏิบัติ” อย่างเอาจริงเอาจัง สุดท้ายย่อมได้รับ “ปฏิเวธ” หรือผลจากการ
กระทำนั้น เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งมวล
การฝึกฝนอบรมตนเองตามวิธีการตั้งแต่ธัมมัญญูจนถึงกาลัญญนี้ จึงสามารถเรียงลำดับการฝึก
ที่เป็นขั้นเป็นตอนได้ชัดเจนดังนี้
1. การศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้หมดสิ้น เพื่อที่จะได้รู้จริงว่าพระองค์ทรงสอนอะไร
(ธัมมัญญู)
2. ทำความเข้าใจคำสอนนั้น ว่าพระองค์หมายถึงนัยใด มีความลุ่มลึกเช่นไร และนำความเข้าใจ
นั้นมาสู่ภาคปฏิบัติ เพื่อฝึกหัดขัดเกลา กาย วาจา ใจ ของตนเอง (อัตถัญญู)
3. เมื่อฝึกจนได้ผลเป็นคุณธรรมภายใน ต้องรู้จักประเมินความก้าวหน้าของตนเองให้ได้ เพื่อที่จะ
ได้ปรับปรุงให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก (อัตตัญญู)
4. เนื่องจากพระภิกษุ ไม่ได้มีหน้าที่การงาน หรือทำกิจต่างๆ เหมือนกับที่ฆราวาสทำ ดังนั้นการ
ฝึกทั้งหมดของท่าน จึงไม่อาจจะฝึกด้วยวิธีการอื่นใด นอกจากอาศัยสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว หรือสิ่งที่มีอยู่แล้ว
ในชีวิตประจำวัน นั่นก็คือ จำเป็นต้องฝึกกาย วาจา ใจ ผ่านกิจวัตร กิจกรรม และโดยเฉพาะปัจจัย 4 ที่
เกี่ยวพันกับชีวิตของท่าน (มัตตัญญู)
5. การจะฝึกให้ได้ผลสมบูรณ์ จำเป็นต้องตอกย้ำปฏิบัติกันจนถึงระดับที่เรียกกันว่า “เสพคุ้น” คือ
ทำซ้ำเดิมบ่อยๆ ดังนั้นเวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวัน พระภิกษุจึงต้องจัดสรรมาเพื่อการฝึกแบบตอกย้ำซ้ำเดิม ซึ่ง
ก็คือการทำขั้นตอนที่ 1 ถึง 4 ให้มีความเข้มข้นยิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งต้องอาศัยความเพียรพยายาม ความสม่ำเสมอ
และความอดทน (กาลัญญู)
บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 155