ผลต่อการสร้างนิสัยของพระภิกษุ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 143
หน้าที่ 143 / 252

สรุปเนื้อหา

การรับปัจจัย 4 เป็นประตูที่จะมีผลกระทบต่อการพัฒนานิสัยและคุณธรรมของพระภิกษุอย่างมาก การรับหรือไม่รับปัจจัย 4 ส่งผลต่อชีวิตและการบำเพ็ญสมณธรรมของพระภิกษุ หากไม่รับจะส่งผลให้มีความลำบากเมื่อเกิดความจำเป็น ในขณะที่การรับปัจจัยมากเกินไปจะกลายเป็นภาระ และการรับพอดีจะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด พระภิกษุที่รู้จักการรับจะต้องเข้าใจวงจรของปัจจัย 4 เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากมันให้ดีที่สุด การพัฒนานิสัยและคุณธรรมจึงขึ้นอยู่กับการรับปัจจัยเหล่านี้อย่างเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-ผลการรับปัจจัย 4
-การพัฒนานิสัยในพระภิกษุ
-คุณธรรมและการฝึกฝน
-การบริโภคอย่างมีสติ
-การบริหารจัดการปัจจัย 4

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผลต่อการสร้างนิสัย หรือกว่าจะมาเป็นอุปกรณ์ให้พระภิกษุได้ใช้ฝึกฝนตนเอง ก็ต้องผ่านขั้นตอนการ “รับ มาก่อน หากพระภิกษุไม่ได้รับปัจจัย 4 นั้นไว้ ขั้นตอนต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นจะไม่มีวันเกิดขึ้นได้เลย ดังนั้น การรับจึงเป็นเสมือนประตูหรือจุดตั้งต้นที่ปัจจัย 4 จะเข้ามามีผลกระทบต่อวิถีชีวิต และคุณธรรมของพระภิกษุ ในระยะยาว เพราะฉะนั้นการรับหรือไม่รับ ไม่ว่าจะด้วยเงื่อนไขหรือวิธีการอย่างไร ย่อมกระทบต่อการพัฒนา นิสัย และคุณธรรมภายในของพระภิกษุอย่างแน่นอน 6.8.2 ผู้รู้จักการรับ พระภิกษุที่รู้จักประมาณในการรับ ควรจะต้องรู้จักวงจรของปัจจัย 4 ได้ดีพอ กล่าวให้ง่าย คือ ต้องเห็น จุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายของปัจจัย 4 ได้อย่างชัดเจน คือ รู้ว่าตนเองขาดแคลนสิ่งไหน รู้ว่าจะไปแสวงหา มาได้อย่างไรจึงจะถูกต้องตามพระธรรมวินัย รู้ว่าจะรับหรือไม่รับแค่ไหน รู้ว่าจะต้องบริโภคใช้สอยอย่างไร จึงจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ รู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะใช้ได้คุ้มค่ายาวนาน และรู้ว่าจะสละหรือกำจัดปัจจัย 4 ที่หมดสภาพแล้วอย่างไร เมื่อรู้อย่างนี้แล้วจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความแยบคาย พระภิกษุก็จะได้ประโยชน์ จากปัจจัย 4 นั้นได้เต็มที่บริบูรณ์ ทั้งนี้เนื่องจากว่าการรับปัจจัย 4 เข้ามา ไม่ว่าจะมากหรือน้อยอย่างไร ล้วนแต่มีผลต่อชีวิตของ พระภิกษุได้ ด้วยเหตุที่ว่า 1. กรณี “ไม่รับ” หากว่าไม่มีความจําเป็นหรือขาดแคลน คงไม่ส่งผลอะไร แต่หากมีความจําเป็น ก็จะทำให้ลำบาก การบำเพ็ญสมณธรรมก็ทำได้ยากขึ้นด้วย เช่น อยู่ในถิ่นที่อากาศหนาว แต่ไม่รับผ้ามาให้ เพียงพอแก่ความต้องการ หรือต้องฉันภัตตาหาร แต่ไม่รับบิณฑบาตมาฉัน หรือในฤดูฝน แต่ไม่แสวงหา ที่อยู่ที่มุงบัง หรือยามเจ็บไข้ แต่ไม่รับยามาใช้รักษา เป็นต้น 2. กรณี “รับน้อย” กว่าความจำเป็น ก็จะทำให้ลำบาก เช่นฉันอาหารน้อยจนเกินไป จะทำให้ หิวเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดความกังวลเพราะความหิว เป็นต้น 3. กรณี “รับมาก” กว่าความจำเป็น ก็จะทำให้เป็นภาระที่ต้องตามดูแลรักษา เกิดความหวงแหน ในปัจจัย 4 มีความไม่คล่องตัวหากต้องเดินทาง เพราะเกิดความห่วงใย หรือทำให้ต้องเสียเวลาดูแลปัจจัย 4 มากเกินไป จนมีเวลาไปบำเพ็ญสมณธรรมลดลง เป็นต้น 4. กรณี “รับพอดี” ก็จะได้ประโยชน์จากการรับปัจจัย 4 อย่างเต็มที่ดังที่กล่าวมา ดังนั้น ไม่ว่าพระภิกษุจะรับปัจจัย 4 มาอย่างไร ย่อมส่งผลกระทบทั้งต่อนิสัยการฝึกฝนอบรมตนเอง และคุณธรรมภายในของพระภิกษุโดยตรง 132 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More