ข้อความต้นฉบับในหน้า
ก็ไม่เป็นไร แต่ในหลักปฏิบัติใหญ่ๆ ยังคงอาศัยฝึกผ่านสิ่งที่ต้องทำในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว คือ
1. “กิจวัตร” ประจำวันที่ต้องทำเป็นปกติ เช่น การสวดมนต์ เจริญสมาธิภาวนา การบิณฑบาต
การเก็บกวาดดูแลเสนาสนะ เป็นต้น
2. “กิจกรรม” ได้แก่ภารกิจการงานที่ได้รับมอบหมายจากสงฆ์ เช่น งานก่อสร้างซ่อมแซมบำรุง
เสนาสนะ การดูแลรักษาเรือนคลัง เป็นต้น
เมื่อฝึกตามวิธีการของอัตถัญญูได้ ก็จะทำให้แต่ละขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตรก้าวหน้าไปอีก
ระดับหนึ่ง เช่นขั้นตอนแรก คือสำรวมระวังในพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุต้องเริ่มศึกษาตามวิธีการในธัมมัญญู
จนทราบว่าปาฏิโมกข์คืออะไร มีอะไรบ้าง หลังจากนั้นก็ฝึกตามวิธีการในอัตถัญญู คือทำความเข้าใจความ
หมาย แล้วจึงนำไปฝึกปฏิบัติผ่านกิจวัตรกิจกรรมประจำวัน
ตัวอย่างเช่นกิจวัตร “บิณฑบาต” ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุต้องทราบ
สิกขาบทใน “เสขิยวัตร” ที่เกี่ยวข้องกับการบิณฑบาตว่ามีอะไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่า “ภิกษุ
พึงทำความศึกษาว่า เราจักนุ่งเป็นปริมณฑล” เมื่อทราบแล้วก็ต้องเข้าใจความหมายว่า ทรงบัญญัติไว้
เพื่อให้พระภิกษุเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา จากนั้นต้องทราบต่อไปว่า การนุ่งให้เป็นปริมณฑล
ต้องนุ่งอย่างไร เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้วเวลาจะเดินออกไป ก็ต้องเตรียมกาย วาจา ใจ มีสติระลึกไว้ว่าเรากำลัง
จะไปเป็นต้นแบบ และเป็นเนื้อนาบุญ
เมื่อกำหนดเส้นทางออกเดินบิณฑบาตแล้ว ก็ต้องระลึกถึงสิกขาบทที่ว่า “ภิกษุพึงทำความศึกษา
ว่า เราจักสำรวมดี ไปในละแวกบ้าน” พระภิกษุจึงต้องเดินไปด้วยอาการสำรวมในกิริยามารยาท เช่น
การยืน การเดิน ไม่เดินโยกกาย ไม่เดินโคลงกาย การทอดสายตาให้มองดูภาคพื้นไปข้างหน้าประมาณ 2
เมตร ไม่สอดส่ายสายตา ขณะเดินก็ทำสมาธิ ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
เมื่อกลับจากบิณฑบาต ถึงคราวขบฉัน ให้จัดวางภาชนะให้เรียบร้อยเหมาะแก่การหยิบใช้ ขณะฉัน
นั่งหลังตรง มีกิริยาสงบสำรวม สายตาไม่สอดส่ายไปที่ไหน ค่อยๆ ตักอาหาร ทำคำข้าวให้กลมกล่อม คือ
ให้มีขนาดพอดีๆ ไม่ใหญ่เกินไปไม่เล็กเกินไป แม้ในบาตรหรือในจานก็ตะล่อมเกลี่ยให้ดูกลมกล่อม ไม่ทำคำ
ข้าวให้ร่วงหล่น ไม่ยื่นหน้าอ้าปากเข้าหาช้อน ค่อยๆ ฉันไปเรื่อยๆ อย่างมีสติ ไม่พูดคุยเมื่อมีอาหารในปาก
หรือไม่เคี้ยวเสียงดังไม่แลบลิ้นเลียริมฝีปาก แม้ช้อน ส้อม จานหรือบาตรก็ไม่มีเสียงกระทบกัน ฯลฯ พฤติกรรม
เหล่านี้ล้วนเป็นไปตามสิกขาบททุกประการ เช่น “ภิกษุผู้ฉันอาหารจึงแลดูในบาตร” หรือ “ภิกษุพึงทำความ
ศึกษาว่า เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่นัก” และ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงจับๆ”
เป็นต้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์, มก. เล่ม 4 หน้า 882
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์, มก. เล่ม 4 หน้า 885
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์, มก. เล่ม 4 หน้า 904, 911, 918
บทที่ 4 ขั้ น ต อ น ที่ 2 อัตถั ญ ญ DOU 81