ข้อความต้นฉบับในหน้า
จากพุทธพจน์ที่กล่าวมา ชี้ให้เห็นว่าการศึกษาในพระพุทธศาสนาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน
ที่ชัดเจน และจะต้องปฏิบัติไปตามลำดับเท่านั้น จะรีบร้อนลัดข้ามขั้นตอนไปไม่ได้เลย ดังนั้นเงื่อนไขของ
การบรรลุธรรม จึงอยู่ที่ว่าใครจะทำตามขั้นตอนที่พระองค์ตรัสไว้นั้นได้ถูกต้องสมบูรณ์ก่อนกันนั่นเอง
1.3.2 รูปแบบของการศึกษาในพระพุทธศาสนา
รูปแบบการศึกษาเพื่อฝึกอบรมในพระพุทธศาสนาตั้งแต่ครั้งพุทธกาลเรื่อยมา สามารถแบ่งออกได้
เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ
1. การศึกษาเรียนรู้ทางทฤษฎี หรือปริยัติ ที่เรียกว่า “คันถธุระ” หมายถึงการศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์
หรือการศึกษาปริยัติธรรม ซึ่งในครั้งพุทธกาลนั้นจะเรียนโดยการฟังจากพระอุปัชฌาย์หรืออาจารย์ แล้วท่องจำ
สืบต่อกันเรื่อยมา ต่อมาภายหลังจึงเริ่มมีการจารึกและพิมพ์ทำเป็นหนังสือคัมภีร์ตำรับตำรา เช่น คัมภีร์
พระไตรปิฎก เป็นต้น ซึ่งทำให้การศึกษาทางคันถธุระทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
2. การศึกษาทางปฏิบัติ หรือที่เรียกว่า “วิปัสสนาธุระ” หมายถึงธุระฝ่ายวิปัสสนา หรือธุระฝ่าย
เจริญวิปัสสนา ซึ่งก็คือกิจทางพระพุทธศาสนาในด้านการบำเพ็ญกรรมฐาน หรือการเจริญสมาธิภาวนา
ส่วนพระภิกษุจะเลือกเรียนไปทางคันถธุระ หรือวิปัสสนาธุระ หรือทั้งสองอย่างควบคู่กันไป ก็แล้วแต่
ความชอบใจของแต่ละรูปดังเช่นตัวอย่างในคัมภีร์อรรถกถาที่พระจักขุปาลเถระทูลถามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ว่า
“พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้มีธุระที่อย่าง ?”
พระบรมศาสดาตรัสตอบว่า “ภิกษุ ธุระมี 2 อย่าง คือ คันถธุระ กับ
วิปัสสนาธุระ เท่านั้น”
:
พระจักขุปาล : “พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ? วิปัสสนาธุระเป็น
อย่างไร ?”
พระบรมศาสดา : “ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบ
พุทธวจนะคือพระไตรปิฎกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้
กล่าวบอกพุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและความ
เสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อแล้ว ถือ
เอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่องยินดียิ่งแล้วในเสนาสนะ
อันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ”
พระจักขุปาลเถระ, อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 14
8 DOU แม่บท การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา