ข้อความต้นฉบับในหน้า
จนกระทั่งผ่านไปสามวัน จึงเกิดฝนตกใหญ่ ซากช้างที่เหี่ยวแห้งไปก็ได้รับความชุ่มน้ำซากจึงพองขึ้น
จนมีสัณฐานเป็นปกติ ทวารหนักก็เปิด มันเห็นช่องนั้น คิดว่า “คราวนี้เราคงรอดได้” จึงถอยหลังไปจนจด
หัวช้าง วิ่งผ่านออกไปโดยเร็ว เอาหัวชนทวารหนักออกไปได้ แต่เพราะร่างกายของมันซูบซีดเหี่ยวแห้ง
ขนทั้งหมดจึงติดอยู่ที่ทวารหนักของช้างนั่นเอง
มันสะดุ้งตกใจ ด้วยร่างกายที่ไร้ขนเหมือนลำตาล วิ่งไปครู่หนึ่ง จึงหันกลับมามองดูร่างกายตน
เกิดความสลดใจว่า “ทุกข์ของเรา ไม่ได้มีใครมาทำให้เลย แต่เพราะความโลภเป็นเหตุ เพราะความโลภ
เป็นตัวการ เราอาศัยความโลภ ก่อทุกข์นี้ไว้เอง นับแต่นี้ไป เราจะไม่ยอมอยู่ในอำนาจของความโลภ ขึ้นชื่อว่า
ซากช้างละก็ เราจะไม่ขอเข้าไปอีก” ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หนีไปจากที่นั้นทันที
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นตรัสสิกาลชาดกนี้แล้ว จึงตรัสเตือนพระภิกษุทั้งหลายอีกว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสที่เกิดขึ้นภายใน
ต้องไม่ให้พอกพูนได้ ควรข่มเสียทันทีทันใดทีเดียว”
อินทรียสังวร จึงไม่ได้หมายความว่าให้ปิดตา ปิดหู หรือปิดทวารทั้งหลายไม่ยอมใช้งาน หากแต่
ต้องการให้สำรวมระวังใจ ไม่ให้กิเลส หรืออกุศลกรรมลามกเกิดขึ้นได้นั่นเอง
การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายจึงเป็นบทฝึกให้พระภิกษุรู้จักตัดสินใจเป็น คือ รู้ว่าสิ่งใด “ควร”
สิ่งใด “ไม่ควร” เช่น ควรดู ไม่ควรดู หรือควรฟัง ไม่ควรฟัง เป็นต้น ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้
หลักปฏิบัติในการตัดสินใจว่า
“ดูก่อนสารีบุตร เมื่อบุคคลเสพ รูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร อกุศลธรรม
ทั้งหลายจะเจริญขึ้น แต่กุศลธรรมทั้งหลายกลับเสื่อมลง รูปที่รู้ได้ทางจักษุ
แบบนี้ไม่ควรเสพ
ดูก่อนสารีบุตร แต่ว่าเมื่อบุคคลเสพรูปที่รู้ได้ทางจักษุแบบไร อกุศลธรรม
เสื่อมลง แต่กุศลธรรมกลับเจริญขึ้น รูปที่รู้ได้ทางจักษุ แบบนี้ควรเสพ...
...เสพเสียงที่รู้ได้ทางโสตะ ฯลฯ...
...เสพกลิ่นที่รู้ได้ทางฆานะ ฯลฯ...
...เสพรสที่รู้ได้ทางชิวหา ฯลฯ...
...เสพโผฏฐัพพะที่รู้ได้ทางกาย ฯลฯ...
1 ในที่นี้ หมายถึงการนึกหน่วง ตั้งสติไว้ พิจารณา
บทที่ 2 คณกโมคคัลลานสูตร DOU 33