ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระองค์ตรัสตอบว่า “ได้” และทรงบอกถึงลำดับขั้นตอนในการศึกษาและปฏิบัติในพระพุทธศาสนาไว้
ถึง 6 ขั้นตอน โดยจะทรงแนะนำให้พระภิกษุปฏิบัติไปทีละขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 แนะนำให้เป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในปาฏิโมกข์ฯ
ขั้นตอนที่ 2 แนะนำให้สำรวมระวังในอินทรีย์ทั้งหลาย คือ ระวังตา
ขั้นตอนที่ 3 แนะนำให้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร
หู จมูก
ลิ้น
กาย และใจ
ขั้นตอนที่ 4 แนะนำให้เป็นผู้ประกอบด้วยความตื่นอยู่ เพื่อทำความเพียรชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
กิเลส
ขั้นตอนที่ 5 แนะนำให้เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ
ขั้นตอนที่ 6 แนะนำให้หมั่นเสพเสนาสนะอันสงัด เช่น ป่า โคนไม้ ภูเขา เพื่อเจริญสมาธิภาวนา
พระองค์ตรัสต่อไปว่า หากพระภิกษุทำตามลำดับขั้นตอนดังที่กล่าวมานี้ได้แล้ว ย่อมจะได้รับ
สามัญญผลอันยิ่งใหญ่ไปตามกำลังแห่งความเพียรของตน คือ สามารถทำใจหยุดนิ่ง หลุดพ้นจากนิวรณ์
ทั้ง 5 บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน....ไปจนกระทั่งบรรลุพระอรหัตผล
ธัมมัญญูสูตร
เป็นพระสูตรที่ตรัสสอนพระภิกษุถึงวิธีการศึกษาธรรมะและการนำมาปฏิบัติเพื่อฝึกฝนอบรมตนเอง
และเพื่อเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลก โดยทรงบอกวิธีการไว้ 7 ขั้นตอน คือ
1. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักธรรม เรียกว่า “ธัมมัญญู”
2. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักอรรถ หรือเนื้อความของธรรมนั้น เรียกว่า “อัตถัญญู”
3. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักตน หรือประเมินคุณธรรมในตนเองเป็น เรียกว่า “อัตตัญญู”
4. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักประมาณในการรับปัจจัย 4 เรียกว่า “มัตตัญญู”
5. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักกาล เรียกว่า “กาลัญญู”
6. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักบริษัทหรือประชุมชนต่างๆ เรียกว่า “ปริสัญญ
7. ภิกษุต้องฝึกตนเองให้เป็นผู้รู้จักแยกแยะบุคคล เรียกว่า “บุคคลปโรปรัญญ
ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี มี 5 อย่างคือ 1. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ 2. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น 3. ถีนมิทธะ
ความหดหู่ซึมเซา 4. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ 5. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
บทที่ 1 การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา
DOU 15