อาทิตตปริยายสูตร และการเลือกธรรมะ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 212
หน้าที่ 212 / 252

สรุปเนื้อหา

อาทิตตปริยายสูตรอธิบายถึงความร้อนในสิ่งทั้งปวงรวมถึงสุขเวทนาและทุกขเวทนาที่เกิดจากจักษุสัมผัส อย่างไรก็ตาม ในการแสดงธรรม พระภิกษุควรทราบภูมิหลังของผู้ฟังเพื่อปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับผู้ฟัง เนื้อหาแห่งธรรมะต้องปรับเปลี่ยนตามระดับสติปัญญาของผู้ฟังซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามอายุและความรู้ เช่นในโอวาทที่พระพุทธองค์สอนพระราหุลเกี่ยวกับการปกป้องคำพูด การศึกษาในธรรมะจึงต้องสอดคล้องกับสติปัญญาและภูมิหลังต่างๆ ของแต่ละคน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากการเรียนรู้ดัชนีธรรม.

หัวข้อประเด็น

-อาทิตตปริยายสูตร
-การเลือกธรรมะ
-ภูมิหลังผู้ฟัง
-สติปัญญาในการศึกษา
-พระราหุลและคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาทิตตปริยายสูตร อันกล่าวถึงสิ่งของร้อนเช่นกันกับไฟว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่ง ทั้งปวงเป็นของร้อน คืออะไร คือ จักษุ รูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส เป็น ของร้อน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่าร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อน เพราะชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส” ในทางปฏิบัติ การเลือกธรรมะตามภูมิหลังเดิมของผู้ฟังนั้น สามารถรู้ได้หลายวิธี เช่น จากอาชีพ ที่ทำ จากภูมิลำเนาที่อาศัย จากระดับการศึกษา จากอายุของผู้ฟัง รวมถึงสอบถามจากผู้นิมนต์ ผู้คุ้นเคย กับคนฟัง เป็นต้น ดังนั้น ก่อนที่แสดงธรรม พระภิกษุจึงควรรู้จักภูมิหลังผู้ฟังก่อน เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ ผู้ฟังในการแนะนำธรรมะได้อย่างเหมาะสมกับผู้ฟัง 9.3.3 เลือกธรรมะตามระดับสติปัญญา ในผู้ฟังคนเดียวกัน เมื่อมีสติปัญญาความรู้เพิ่มขึ้นไปตามอายุและวัย หัวข้อธรรมะที่แสดงก็จะ ปรับเปลี่ยนไปตามระดับสติปัญญาด้วย แม้ว่าจริตอัธยาศัยหรือภูมิหลังเดิมของบุคคลนั้นจะยังไม่เปลี่ยนแปลง ไปก็ตาม ดังตัวอย่างโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร่ำสอนแก่พระราหุล เช่น เมื่อครั้งเป็นสามเณรราหุล มีอายุเพียง 7 พรรษา แม้บวชแล้วก็ตาม แต่ด้วยธรรมชาติวัยเด็กย่อมเล่น ซุกซน คะนองมือ คะนองปากบ้าง พระพุทธองค์จึงตรัสสอนให้รู้จักระมัดระวังคำพูด ไม่ให้พูดเท็จ ดังปรากฏใน จูฬราหุโลวาทสูตรว่า “ดูก่อนราหุล เรากล่าวว่าบุคคลผู้ไม่มีความละอายในการกล่าวมุสา ทั้งที่รู้อยู่ที่จะไม่ทำบาปกรรมแม้น้อยหนึ่งไม่มีฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุนั้น ราหุล เธอพึงศึกษาว่าเราจักไม่กล่าวมุสา แม้เพราะหัวเราะกันเล่น ดูก่อน ราหุล เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล อาทิตตปริยายสูตร, สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, มก. เล่ม 28 ข้อ 31 หน้า 33 จูฬราหุโลวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 125 หน้า 265 บ ท ที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 201
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More