ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำหรับผู้มีศรัทธา ก็ควรพัฒนาศรัทธาของตนนั้นให้มั่นคง กลายเป็น “อจลศรัทธา” คือความเลื่อมใส
ศรัทธาชนิดที่หมดความสงสัยใดๆ ในพระรัตนตรัย เมื่อมีศรัทธาตั้งมั่นจึงจะมั่นใจได้ว่า คุณธรรมความดีของเรา
จะก้าวหน้า ไม่เสื่อมสลายหรือลดน้อยลงไปได้เลย
5.4.2 ศีล
“ศีล” แปลว่า ความประพฤติดีทางกายและวาจา การรักษากายและวาจาให้เรียบร้อย ข้อปฏิบัติ
สำหรับควบคุมกายและวาจาให้อยู่ในความดีงามการรักษาปกติตามระเบียบวินัย ปกติมารยาทที่ปราศจากโทษ
ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ดียิ่งขึ้น ความสุจริตทางกายวาจาและ
อาชีพ!
ศีลจึงเป็นเครื่องควบคุมกาย และวาจา ให้เรียบร้อยดีงาม ซึ่งสำหรับพระภิกษุนั้น พระอรรถ
กถาจารย์ได้รวบรวมไว้เป็น 4 ประเภท เรียกว่า “ปาริสุทธิศีล” คือ
1. ปาฏิโมกขสังวรศีล คือการเว้นจากข้อที่พระพุทธองค์ทรงห้าม และทำตามข้อที่ทรงอนุญาต
และประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย แบ่งออกได้ 3 หัวข้อด้วยกัน คือ
1.1 ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร
1.2 มีปรกติเห็นภัยในโทษแม้เพียงเล็กน้อย
1.3 สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย
2. อินทรียสังวรศีล คือสำรวมระวังในอินทรีย์ทั้ง 6 ไม่ให้บาปอกุศลครอบงำใจ
3. อาชีวปาริสุทธิศีล คือ ความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยทางที่ชอบ ไม่ประกอบด้วยการ
เลี้ยงชีพที่ผิด เช่น หลอกลวงเขา หรือประจบเขาเพื่อหวังสิ่งของ เป็นต้น
4. ปัจจัยสันนิสสิตศีล หรือปัจจเวกขณศีล คือ การพิจารณาใช้สอยปัจจัย 4 ให้ถูกต้องตาม
วัตถุประสงค์และประโยชน์ของสิ่งนั้น
ศีลทั้ง 4 ประเภท มีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่การรักษา กาย วาจา และใจ ให้คิดดี พูดดี และทำดี
เหมือนดังเรื่องใน กัญจนพันธชาดก
หน้า 292
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ 8, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2538),
กัญจนขันธชาดก, อรรถกถา ชาดก เอกนิบาต, มก. เล่ม 56 หน้า 90
บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัต ตั ญ ญ DOU 97