ข้อความต้นฉบับในหน้า
9.4 วิธีการแสดงธรรม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้นแบบที่ดีของการเป็นกัลยาณมิตรให้แก่ชาวโลก ทรงแนะนำแสดง
ธรรมได้อย่างงดงาม ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย เป็นแบบอย่างที่พระภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรควร
จะดำเนินรอยตาม แต่ก่อนจะศึกษาถึงวิธีการแสดงธรรมนั้น ควรจะมีความเข้าใจพื้นฐานที่ตรงกัน 2 ประการ
คือ
9.4.1 การแสดงธรรมไม่ใช่ของง่าย เพราะต้องอาศัยความพร้อมอย่างมากของผู้สอน ทั้งสภาพ
ใจ ทั้งความรู้ที่ต้องถ่ายทอดไปตามลำดับ ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้แก่พระอานนท์" ว่า
“ดูก่อนอานนท์ การแสดงธรรมแก่ผู้อื่นไม่ใช่ทำได้ง่าย ภิกษุเมื่อจะแสดงธรรมแก่ผู้อื่น จึงตั้งธรรม
5 ประการไว้ภายใน แล้วจึงแสดงธรรมแก่ผู้อื่น 5 ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุพึงตั้งใจว่า
1. จักแสดงธรรมไปโดยลำดับ
2. จักแสดงอ้างเหตุผล
3. จักแสดงธรรมอาศัยความเอ็นดู
4. จักเป็นผู้ไม่เพ่งอามิสแสดงธรรม
5. จักไม่แสดงให้กระทบตนและผู้อื่น”
9.4.2 ต้องไม่ดูเบาในการแสดงธรรม ไม่ว่าผู้ฟังจะเป็นใครก็ตาม การเตรียมความพร้อมในการ
แสดงธรรมทั้งเนื้อหา ทั้งตัวพระภิกษุผู้แสดงธรรมเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าผู้ฟังนั้นจะเป็นผู้มีความรู้ มีระดับสติ
ปัญญาสูง หรือเป็นเด็ก เป็นนักเรียนวัยเยาว์ก็ตาม พระภิกษุก็จะแสดงธรรมด้วยความเคารพ คือ ไม่ให้เนื้อหา
ธรรมะผิดพลาด เตรียมความพร้อมอย่างตั้งใจ ไม่ประพฤติตัวเข้าทำนองว่า สอนกลุ่มคนมีความรู้ มีฐานะ
ต้องเตรียมตัวมาก ขณะที่สอนกลุ่มคนด้อยความรู้ คนอ่อนวัย ไม่ต้องเตรียมตัวแต่อย่างใด เป็นต้น
พระพุทธองค์แม้จะตรัสสอนแก่ใครก็ตาม ทรงแสดงธรรมโดยเคารพ แม้แต่การแสดงธรรมแก่
ขอทาน ดังตรัสไว้ใน สีหสูตร” ว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ตถาคตจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย
ตถาคตย่อมแสดงโดยเคารพ ไม่แสดงโดยไม่เคารพ
อุทายีสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 159 หน้า 334
"สีหสูตร, อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, มก. เล่ม 36 ข้อ 99 หน้า 226
บทที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโร ปรัญญู DOU 203