ความสำคัญของครูบาอาจารย์ในการฝึกฝนพระภิกษุ SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 164
หน้าที่ 164 / 252

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในธรรมะพระพุทธเจ้าสำหรับพระภิกษุในการบรรลุมรรคผลนิพพาน และเสนอแนวทางการฝึกฝนเอง โดยมี 5 ปัจจัยสำคัญ รวมถึงการอยู่ในสถานที่เหมาะสม การมีปัจจัย 4 ที่หาได้ง่าย การได้รับคำอธิบายจากพระเถระที่มีความรู้ การสอบถามธรรมะ และการอธิบายธรรมที่ชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของครูบาอาจารย์
-การฝึกฝนพระภิกษุ
-ปัจจัยสู่การบรรลุนิพพาน
-การสอบถามธรรมะ
-การพัฒนาตนเองในภาคปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. “ผู้ตอบคำถาม” ในที่นี้หมายถึงครูบาอาจารย์ หรือท่านผู้รู้ที่รู้จริง คือรู้ทั้งธรรมะที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าสอนไว้ รู้ทั้งความหมายและเข้าใจถึงวิธีปฏิบัติที่ได้ผล และท่านต้องเป็นผู้ฝึกฝนอบรมตนเองมา อย่างดีแล้ว ครูบาอาจารย์อย่างนี้ จึงจะเป็นผู้ที่เข้าใจถึงสิ่งที่ผู้ถามต้องการถาม และสามารถจะให้คำตอบ ที่ชัดเจนกระจ่างดุจดั่งเห็นลายมือบนฝ่ามือตนเอง ดังนั้นการมีครูบาอาจารย์ที่สามารถแนะนำและช่วย ขจัดความสงสัยให้ได้จึงมีความสำคัญอันยิ่งใหญ่สำหรับพระภิกษุที่มีเป้าหมายอยู่ที่การบรรลุมรรคผลนิพพาน ดุจดังเช่นที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน “เสนาสนสูตร” ซึ่งมีเนื้อหาโดยย่อดังนี้ คือ พระภิกษุที่ฝึกตนเองมาดีแล้ว หากได้อยู่ในสถานที่ที่ประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ 5 ประการ ก็ย่อมจะบรรลุมรรคผลนิพพานภายในเวลาไม่นาน คือ 1. ได้เสนาสนะที่เหมาะสม คือ สถานที่อาศัยที่ไม่ใกล้ไม่ไกลชุมชนนัก สงบเงียบเหมาะแก่ การบำเพ็ญสมณธรรม 2. ปัจจัย 4 หาได้ง่าย ไม่ลำบาก 3. ณ ที่นั้น มีพระเถระทั้งหลายที่เป็นพหูสูต ชำนาญในคัมภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย 4. พระภิกษุนั้นหมั่นเข้าไปสอบถามในหัวข้อธรรมต่างๆ กับท่าน 5. พระเถระเหล่านั้นอธิบายธรรมที่ยังไม่ได้อธิบาย และทำให้เข้าใจง่าย จนพระภิกษุนั้น หายสงสัยในแต่ละหัวข้อธรรม ด้วยปัจจัยดังกล่าวหัวข้อการสอบถามในกาลัญญนี้ จึงจำเป็นต้องมีครูบาอาจารย์ที่สามารถ แนะนำธรรมะให้ได้ด้วย และการสอบถามนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พระภิกษุมีคุณสมบัติเป็น “อัตถัญญู” ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป 3) การประกอบความเพียร หมายถึงการฝึกฝนอบรมตนเองในภาคปฏิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายเอาการเจริญสมาธิภาวนา ซึ่งเป็นหัวใจของการฝึกฝนอบรมตนเองให้หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะ จากการศึกษาที่ผ่านมา นักศึกษาได้ทราบแล้วว่า พระภิกษุมีวิธีในการฝึกฝนอบรมตนเองหลาย ทางโดยผ่านสิ่งต่างๆ ดังนี้ 1. ฝึกผ่านกิจวัตรที่พระภิกษุต้องปฏิบัติกันเป็นประจำอยู่แล้ว เช่น การบิณฑบาต การสวดมนต์ การศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย 2. ฝึกผ่านกิจกรรม หรือภารกิจหน้าที่การงานของสงฆ์ ได้แก่ การดูแลรักษา ซ่อมแซม หรือ สร้างเสนาสนะ หรือธุระอื่นใด ที่สงฆ์มอบหมายให้รับผิดชอบ เรียบเรียงจาก เสนาสนสูตร, อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่ม 38 ข้อ 11 หน้า 23 บทที่ 7 ขั้ น ต อ น ที่ 5 กาลัญญ DOU 153
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More