ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. ปัญญาทางโลก หรือปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้ หรืออาศัยการคิดพิจารณาด้วยสมอง ได้แก่
ปัญญาในระดับจินตมยปัญญา และสุตมยปัญญา สามารถประเมินได้ใน 2 ประเด็น คือ
1.1 ประเมินจาก “ความสามารถในการทำงาน” เพราะการทำงานต้องใช้ปัญญา และต้องมี
ความรับผิดชอบในงานนั้น
1.2 ประเมินจากการ “รู้เท่าทันสังขาร หรือสุขภาพร่างกายของตนเอง” เช่น เราเอาใจใส่
ในการดูแลรักษาสุขภาพได้ดีแค่ไหน คือ ดูแลให้แข็งแรงเพียงพอที่จะใช้สร้างบุญบารมีได้นานๆ ไม่ใช่ว่าร่างกาย
แข็งแรงดี แต่ไม่ใช้สร้างความดีอะไรเลย หรือร่างกายไม่แข็งแรง แต่กลับหักโหมใช้เกินไป อย่างนี้ก็ไม่เรียกว่า
รู้เท่าทันในสังขารตัวเอง
2. ปัญญาทางธรรม ในทางธรรมปฏิบัติ จะประเมินจากการ “เข้าถึงกายภายใน” เพราะปัญญา
ทางธรรม หมายถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งแทงตลอดในสังขาร ที่เกิดจากการเจริญสมาธิภาวนาทำให้รู้เท่าทัน
กิเลสภายในตัว ซึ่งในทางธรรมปฏิบัติพบว่า ภายในตัวของมนุษย์ทุกๆ คนมีกายที่ซ้อนๆ กันอยู่ ฉะนั้นการที่
เราจะรู้เท่าทันสังขารก็คือการรู้เท่าทันในความไม่จีรังยั่งยืนของกายต่างๆ ที่ซ้อนอยู่ภายใน ซึ่งพระเดชพระคุณ
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้เคยแสดงพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับกายภายในไว้ว่า
“ว่าในด้านภาวนา กายนี้มีซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีกายทิพย์ซ้อนอยู่ใน
กายมนุษย์ กายรูปพรหมซ้อนอยู่ในกายทิพย์ กายอรูปพรหมซ้อนอยู่ในกาย
รูปพรหม กายธรรมซ้อนอยู่ในกายอรูปพรหม
คนเราที่ว่าตายนั้น คือ กายทิพย์กับกายมนุษย์หลุดพรากออกจากกัน เหมือน
มะขามกะเทาะล่อนจากเปลือก ฉะนั้น กายทิพย์ก็หลุดพรากจากกายมนุษย์ไป
การละกิเลสของพระองค์หลุดไปเป็นชั้นๆ ตั้งแต่กิเลสในกายมนุษย์ กาย
ทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม เป็นลำดับไป
กิเลสในกายมนุษย์ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ
กิเลสในกายทิพย์ คือ โลภะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายรูปพรหม คือ ราคะ โทสะ โมหะ
กิเลสในกายอรูปพรหม คือ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย”
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงกายที่ซ้อนกันอยู่ภายใน จึงเป็นสิ่งที่บอกถึงระดับของปัญญา
คือความรู้แจ้งเห็นจริง หรือความรู้เท่าทันกิเลสที่มีอยู่ในกายต่างๆ ตามลำดับ เพราะกายแต่ละกายมีกิเลส
หยาบละเอียดไม่เท่ากัน โดยที่กายมนุษย์มีกิเลสหยาบกว่ากายทิพย์ กายทิพย์มีกิเลสหยาบกว่ากายรูปพรหม
บทที่ 5 ขั้ น ต อ น ที่ 3 อัตตัญญ DOU 109