ข้อความต้นฉบับในหน้า
การนอน การพูด การนิ่งไม่พูด หรือการกระทำใดๆ นอกเหนือจากนี้ พระภิกษุจะต้องกระทำด้วยความรู้สึกตัว
เสมอ ไม่ลืม หรือเผลอสติเลย
การหมั่นฝึกให้ตัวเองมีสติสัมปชัญญะ ย่อมมีผลดีต่อจิตใจ เพราะทำให้ใจไม่ตกเป็นทาสของอำนาจ
กิเลส เช่น ความโกรธเคือง ความลุ่มหลงมัวเมา ใจจึงมีความโปร่งโล่งเบา เป็นสุข พร้อมที่จะเผชิญความ
เป็นไปต่างๆ ในโลก ทั้งเป็นที่รองรับการเกิดของคุณธรรมความดีทั้งหลาย รวมถึงเป็นประโยชน์อย่างสูงสุด
ในการทำพระนิพพานให้แจ้ง สมดังที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้แสดงพระธรรมเทศนา
ไว้ว่า
“เมื่อมีสติไม่เลินเล่อไม่เผลอตัวแล้ว ก็ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทในธรรม
ทั้งหลาย เมื่อไม่ประมาทในธรรมทั้งหลายเหล่านี้ละก็ ไปนิพพานได้แล้ว
ไม่ต้องสงสัย เป็นหลักใหญ่ใจความในทางพุทธศาสนา”
ในอดีตกาล ก็มีตัวอย่างของพระภิกษุรูปหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะท่านจะหมั่นประคับประคอง
สติสัมปชัญญะของตนเองไว้ จนในที่สุดก็บรรลุธรรม ทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ดังนี้
เรื่องพระมหาปุสสเทวเถระ
ภายหลังบวชแล้ว ท่านพระมหาปุสสเทวเถระพร้อมทั้งเหล่าพระภิกษุมีความคิดว่า “เราไม่ได้บวช
มาเพื่อหลบหนี้ไม่ได้บวชเพื่อหลบภัย ไม่ได้บวชเพื่อหาเลี้ยงชีพ แต่ประสงค์อยากจะพ้นจากทุกข์ จึงได้บวชใน
พระศาสนานี้” จึงพากันบำเพ็ญคตปัจจาคติกวัตร คือ ในขณะเดิน ท่านก็ประคับประคองสติสัมปชัญญะ
ของตน เฝ้าระมัดระวังไม่ให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจ แม้ในขณะยืน นั่ง และนอน ก็ทำเช่นเดียวกัน
ในเวลาออกภิกขาจารยามเช้าตรู่ ท่านพร้อมเหล่าภิกษุก็จะเดินประคับประคองสติ ระลึกถึงกรรม
ฐานของตนเองไป ในขณะเดินนั้นเอง หากกิเลสเกิดขึ้นแก่ใครในระหว่างทางก็ตาม ภิกษุรูปนั้นก็จะข่มกิเลสใน
ขณะนั้นทันที แต่หากไม่สามารถข่มกิเลสได้ ก็จะหยุดเดิน ยืนนิ่งอยู่ภิกษุรูปอื่นที่เดินตามหลังก็จะหยุดเดินและ
ยืนสงบนิ่งตามไปด้วยภิกษุผู้ถูกกิเลสครอบงำแล้วจะกล่าวตักเตือนตัวเองด้วยความคิดว่า “ภิกษุอื่นรู้ความคิด
อันลามกของเรา อาการนี้ไม่สมควรเลย” แล้วเจริญวิปัสสนาก้าวลงสู่อริยภูมิ ณ ที่นั้นนั่นเอง หากยังไม่สามารถ
ข่มกิเลสนั้นไว้ได้อีก ภิกษุรูปนั้นก็จะลงไปนั่งอยู่ตรงนั้น เหล่าภิกษุรูปอื่นก็จะพากันนั่งตามไปด้วย จนกว่าจะ
ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นในใจได้ ท่านพร้อมเหล่าพระภิกษุทำเช่นนี้ในทุกๆ อิริยาบถ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่สามารถ
พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร), เรื่อง “การเว้นขาดจากบาป”, 18 เมษายน 2497
เรียบเรียงจาก เรื่องพระมหาปุสสเทวเถระ, อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 17 หน้า 697
คตปัจจาคติกวัตร คือ วัตรของผู้ถือกรรมฐานเดินกลับไป เดินกลับมา
40 DOU แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา