ข้อความต้นฉบับในหน้า
อุกกัณฐิตภิกษุคิดว่า “โอ เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงออกบวช แต่ในพระพุทธศาสนานี้ แม้แค่จะ
เหยียดมือก็ลำบากนัก เราครองเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นฆราวาสดีกว่า”
ตั้งแต่นั้น ท่านก็กระสันอยากสึก หมดความยินดีในการประพฤติพรหมจรรย์ไม่ทำการสาธยายธรรม
ไม่เล่าเรียนในพระปาฏิโมกข์ มีร่างกายผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ
เมื่อพระพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านทราบเรื่องแล้ว จึงพาท่านไปยังสำนักพระศาสดา
พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้วจึงตรัสถามว่า “ภิกษุ ถ้าเธอรักษาเพียงสิ่งเดียวได้นั้น สิ่งอื่นๆ ก็
จะไม่ต้องรักษาอีกเลย”
“อะไร ? พระเจ้าข้า”
“เธอจะรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม ?”
“อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า”
พระศาสดา จึงประทานพระโอวาทนี้ว่า “ถ้ากระนั้น เธอจงรักษาเฉพาะจิตของตนไว้ เธออาจพ้น
จากทุกข์ได้”
ภายหลังจบพระธรรมเทศนา อุกกัณฐิตภิกษุก็มีดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน ณ ที่ตรงนั้น
เอง
จากเรื่องนี้ นอกจากจะทำให้เห็นคุณค่าของการมีกัลยาณมิตร ที่จะเป็นครูคอยแนะนำ พร่ำสอน
ในการฝึกฝนตัวเองแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึง การให้ความเข้าใจในความรู้ที่พระอุกกัณฐิตภิกษุได้ร่ำเรียน จาก
พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์ ซึ่งเดิมท่านเกิดความท้อแท้เสียก่อน คิดเองว่า ความรู้ที่ตนได้ร่ำเรียนนั้นเป็น
ของยาก ปฏิบัติตัวตามได้ลำบาก ไม่อาจทำตัวเองให้สบายได้ จึงคิดจะกลับไปเป็นฆราวาสครองเรือนตาม
เดิม แต่เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะแนวทางในการปฏิบัติให้ ท่านก็เกิดความเข้าใจ เห็นว่า คำสอนที่
พระอุปัชฌาย์และพระอาจารย์สอนตนทั้งหมดนั้น แท้จริงก็คือ การสำรวมระวังใจของตนเองให้ดีนั่นเอง เพราะ
เมื่อสามารถระมัดระวังใจได้แล้ว ก็ย่อมสามารถควบคุมกาย วาจา หรือทำตามคำสอน คำแนะนำที่ท่าน
ทั้งสองกล่าวสอนมาได้ทั้งหมดโดยปริยาย เมื่อท่านเกิดความเข้าใจ มองเห็นหนทางของการฝึกฝนด้วยการ
รู้จักรักษาใจของตนแล้ว ภายหลังจึงสามารถบรรลุธรรมได้ในที่สุด
10.2.3 อัตตัญญูกับการสำรวมในพระปาฏิโมกข์
พระภิกษุนั้น เมื่อมีความรู้เรื่องการสำรวมในพระปาฏิโมกข์เป็นอย่างดี มีความเข้าใจในแนวทางการ
ปฏิบัติได้ทดลองฝึกตัวไปตามความเข้าใจ อาศัยครูคอยแนะนำเพิ่มเติมความรู้ความเข้าใจไปได้ระยะหนึ่งแล้ว
224 DOU แม่บท การฝึกอบรมในพระ
ระ พุ ท ธ ศ า ส นา