ข้อความต้นฉบับในหน้า
2. จูงใจ (สมาทปนะ) หมายถึง ทำให้ผู้ฟังยอมรับธรรมะและเกิดแรงบันดาลใจอยากนำธรรมะ
ที่ได้ฟังไปปฏิบัติตาม
3. หาญกล้า (สมุดเตชนา) หมายถึง ทำให้ผู้ฟังเกิดกำลังใจ เกิดความบากบั่น พร้อมที่จะฝ่าฟัน
อุปสรรคในการนำธรรมะที่ได้ฟังไปปฏิบัติ เพราะรู้ว่าธรรมะที่ทำนั้น จะเป็นประโยชน์ เป็นความสุข ความ
เจริญแก่ตัวเอง จึงพร้อมหาญกล้าฝ่าฟันอุปสรรค
4. ร่าเริง (สัมปหังสนา) หมายถึง ทำให้จิตใจผู้ฟังเกิดความแช่มชื่น ร่าเริง แจ่มใส เบิกบานใจ
ไม่เบื่อหน่าย
จะเห็นได้ว่า นอกจากเนื้อหาธรรมะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟังอยู่แล้ว การรู้จักใช้ลีลาเพื่อการ
แสดงธรรมก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะจะทำให้คนฟังอยากที่จะนำธรรมะที่ฟังไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์
แก่ตน แม้อาจไม่มั่นใจ ไม่แน่ใจ แต่ก็มีกำลังใจ จนเกิดความอาจหาญ กล้าที่จะฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ ไปได้
พระภิกษุจึงควรยึดถือไว้เป็นแนวทางหนึ่งในการแสดงธรรม
9.5 เทคนิคการแสดงธรรม
9.5.1 รู้จักมีเรื่องประกอบเป็นตัวอย่าง
การมีเรื่องตัวอย่างประกอบจะช่วยให้ผู้ฟังจดจำง่าย เข้าใจได้ง่าย และเกิดความเพลิดเพลินในการ
ฟัง ไม่เบื่อหน่าย สามารถติดตามเนื้อหาสาระที่พระภิกษุแนะนำ แสดงธรรมได้ตลอดต่อเนื่อง ไม่ขาดตอน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงมีเรื่องตัวอย่างประกอบเช่นกัน ซึ่งบางครั้งเป็นเรื่องของพระองค์เอง
ในขณะที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระบรมโพธิสัตว์อยู่ บางครั้งก็เป็นเรื่องในสมัยพุทธกาลของพระองค์ กับ
เหล่าสาวกบ้าง เป็นต้น
9.5.2 รู้จักใช้การอุปมาอุปไมย หรือการเปรียบเทียบ
เมื่อต้องอธิบายในสิ่งที่เข้าใจได้ยาก การอุปมาเปรียบเทียบก็ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้วิธีนี้เช่นกันดังตัวอย่างที่พระมาลุงกยบุตรทูลถามปัญหาเรื่องของโลกกับ
พระองค์ เช่น โลกนี้เที่ยง หรือโลกนี้ไม่เที่ยง โลกนี้มีที่สุด หรือโลกนี้ไม่มีที่สุด เป็นต้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่มี
ประโยชน์ต่อการทำอาสวกิเลสให้หมดไป พระพุทธองค์ไม่ทรงตอบโดยตรง แต่ทรงใช้วิธีอุปมา ดังปรากฏใน
“จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร” ว่า
จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร, มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, มก. เล่ม 20 ข้อ 150 หน้า 301
บทที่ 9 ขั้ น ต อ น ที่ 7 บุคคล ปโรปรัญญู DOU 205