การเจริญสมาธิภาวนาและการควบคุมกายวาจา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 242
หน้าที่ 242 / 252

สรุปเนื้อหา

การเจริญสมาธิภาวนาเป็นวิธีการที่ช่วยให้กาย วาจา และใจ สะอาดบริสุทธิ์ โดยการควบคุมกายวาจาและการทำทาน รักษาศีล นำมาซึ่งความสงบและสติปัญญา เมื่อนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันจะช่วยให้สามารถลดกิเลสและโทสะได้ ผู้ที่เป็นฆราวาสสามารถศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมที่ได้เรียนรู้ เช่น คณกโมคคัลลานสูตร และธัมมัญญูสูตร เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ หลังจากศึกษาจบแล้ว ควรทำแบบประเมินตนเองในบทที่ 10 เพื่อทบทวนความเข้าใจและความก้าวหน้าในด้านนี้

หัวข้อประเด็น

-การเจริญสมาธิ
-การควบคุมกายวาจา
-กิเลสและโทสะ
-การปฏิบัติธรรม
-ความสัมพันธ์ระหว่างสูตรต่างๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้ได้อะไรมาจากใคร กิเลสโทสะก็ค่อยๆ จางหายไป การควบคุมกายกับวาจาไม่ให้ไปทำชั่วก็สามารถทำได้ ง่ายขึ้น “การเจริญสมาธิภาวนา” เมื่อควบคุมกายกับวาจาได้ ใจก็จะค่อยๆ กลับมาอยู่ภายในตัว เมื่อฝึก สมาธิต่อไป ใจจะค่อยๆ ตั้งมั่น จนกระทั่งหยุดนิ่ง เกิดเป็นความสว่างไสว และมีปัญญารู้แจ้งในสรรพสิ่งตรงตาม ความเป็นจริง กิเลสโมหะหรือความไม่รู้ก็หายไป ด้วยวิธีการง่ายๆ ด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา ที่ฆราวาสสามารถฝึกฝนและ ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน ก็ย่อมเป็นเหตุให้กาย วาจา และใจ สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส เช่นเดียวกับที่พระ ภิกษุฝึกฝนอบรมตัวของท่านได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้เป็นฆราวาสจึงควรสนใจ ที่จะนำวิธีการตามที่ได้ศึกษา จากทั้งคณกโมคคัลลานสูตร และธัมมัญญูสูตรไปใช้ ให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้อย่างสมบูรณ์ กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 10 ความสัมพันธ์ของ คุณกโมกคัลลานสูตร กับธัมมัญญสูตร จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 10 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 10 บทที่ 10 ความสัมพันธ์ ข อ ง ค ณ ก โ ม ก คั ล ล า น สู ต ร กับธัมมัญญสูตร DOU 231
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More