ข้อความต้นฉบับในหน้า
นางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นธิดาของธนัญชัยเศรษฐี และนางสุมนาเทวี ในภัททิยนคร ในเวลาที่
นางเป็นเด็กอายุ 7 ขวบ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยที่จะพึงแนะนำเพื่อการตรัสรู้ของนาง จึงเสด็จ
ไปยังนครนั้นพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่
เมณฑกเศรษฐีปู่ของเด็กหญิงวิสาขาทราบความว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาถึงภัททิยนครจึงเรียกวิสาขา
ผู้เป็นหลานสาว ให้ไปทำการต้อนรับพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยเด็กหญิงบริวารอีก 500 คน เด็กหญิงวิสาขาจึง
เดินทางพร้อมบริวารไปเข้าเฝ้า เมื่อได้ถวายบังคมและยืนอยู่ในที่สมควรข้างหนึ่งแล้ว ครั้งนั้นพระศาสดา
ทรงแสดงธรรมโปรดนาง เมื่อจบพระธรรมเทศนา นางพร้อมด้วยบริวาร 500 คน ก็บรรลุธรรมเป็นพระ
โสดาบันทั้งหมด
เมื่อนางวิสาขาอายุได้ 16 ปี ได้แต่งงานกับปุณณวัฒนกุมาร และย้ายมาอยู่ในตระกูลของสามีใน
กรุงสาวัตถีต่อมาสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้ครอบครัวของสามีจนมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนากันทุกคน
ตั้งแต่นั้น บ้านของนางในเวลาเช้าก็มลังเมลืองไปด้วยผ้ากาสาวะ คลาคล่ำไปด้วยนักแสวงบุญ ภายในเรือน
ก็จัดทานไว้พร้อมสรรพ ในเวลาเช้านางวิสาขาจะถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์ ภายหลังอาหารก็ให้บ่าวไพร่
ถือเภสัช และน้ำปานะไปถวายพระยังวิหาร อยู่ฟังพระธรรมเทศนาเสร็จแล้วจึงจะกลับ นางทำอย่างนี้จน
เป็นกิจวัตรประจําวัน
ต่อมาภายหลัง นางวิสาขาได้สร้างวัดบุพพารามและวิหารถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า วัดนี้สร้าง
เป็นปราสาท 2 ชั้น ประดับด้วยห้องพันห้อง คือ ชั้นล่าง 500 ห้อง ชั้นบน 500 ห้อง รวมค่าก่อสร้างและ
ฉลองวิหาร ใช้เงินไปถึง 27 โกฏิ
ปัจจัย 4
นอกจากนี้ นางวิสาขายังเป็นอุปัฏฐายิกาผู้ยิ่งใหญ่ เลิศกว่าอุบาสิกาคนใดในด้านผู้บำรุงด้วย
จากเรื่องราวโดยย่อนี้ จะเห็นว่า การเผยแผ่ในกลุ่มคฤหบดี ซึ่งเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก เมื่อมีความ
เลื่อมใสศรัทธาที่มั่นคงย่อมเป็นกำลังสำคัญในการอุปถัมภ์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากโดยเฉพาะ
นางวิสาขานอกจากนางจะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติและบริวารแล้ว นางยังเป็นที่เคารพนับถือของ
ชาวกรุงสาวัตถี ทำให้การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปได้มากอีกเช่นกัน
กลุ่มสมณะ
กลุ่มสมณะเป็นกลุ่มสำคัญยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพราะเป็นกลุ่มผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ
ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือทั้งของกษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และมหาชน ดังเรื่องราวที่ปรากฏในครั้งสมัย
พุทธกาลของชฎิล 3 พี่น้อง
มหาขันธกะ, พระวินัยปิฎก มหาวรรค, เล่ม 6 ข้อ 37 หน้า 87
บท ที่ 8 ขั้ น ต อ น ที่ 6 ปริสัญญู DOU 173