ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.5.2 ความสัมพันธ์ระหว่างพระสูตรทั้งสอง
จากภาพรวมของพระสูตรทั้งสองข้างต้น ทำให้เราทราบว่าการศึกษาและการฝึกปฏิบัติใน
พระพุทธศาสนามีลำดับขั้นตอนอย่างชัดเจนอาจกล่าวได้ว่า คุณกโมคคัลลานสูตร คือพระสูตรที่บอกถึง “ขั้น
ตอนการฝึก” ที่พระภิกษุทุกรูปจะต้องศึกษาและปฏิบัติไป ไม่มีรูปหนึ่งรูปใดที่จะสามารถข้ามหรือลัดขั้นตอน
ใดขั้นตอนหนึ่งไปได้เลย หมายความว่า พระภิกษุต้องฝึกจากขั้นตอนที่ 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 จาก 3 ไป 4
ตามลำดับอย่างนี้เรื่อยไป ซึ่งสอดคล้องกับพุทธพจน์ที่เคยยกมาแสดงไว้ว่า “การตั้งอยู่ในอรหัตผลนั้น ย่อม
มีได้ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ” ดังนั้นหากพระภิกษุ
ไม่สามารถสำรวมระวังในปาฏิโมกข์ได้ (ขั้นตอนที่ 1) ก็จะไม่มีทางระวังรักษาอินทรีย์ของตนเอาไว้ได้เลย
(ขั้นตอนที่ 2) ด้วยเหตุนี้ขั้นตอนในคณกโมคคัลลานสูตร จึงเป็นเสมือนบันได 6 ขั้น ที่พระภิกษุจะต้องก้าว
ขึ้นไปทีละขั้นๆ ไป
ส่วนธัมมัญญูสูตร คือ พระสูตรที่บอกถึง “วิธีการฝึก” ที่ให้รายละเอียดของวิธีการปฏิบัติไว้อย่าง
ครบถ้วนสมบูรณ์ชัดเจน ซึ่งการฝึกในธัมมัญญสูตรนี้ ก็มีสภาพเหมือนขั้นบันได เช่นเดียวกับที่อธิบายไว้ใน
คุณกโมคคัลลานสูตรเช่นกัน
กล่าวโดยสรุปแล้ว พระสูตรทั้ง 2 มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในแง่ของการฝึกอบรม โดยที่คุณกโมค
คัลลานสูตรจะให้ภาพของ “ขั้นตอนการฝึก” ส่วนธัมมัญญสูตรจะให้รายละเอียดเกี่ยวกับ “วิธีการฝึก” ใน
แต่ละขั้นตอนเหล่านั้น
ดังนั้น หากจะถามว่าพระภิกษุต้องทำอย่างไร จึงจะฝึกแต่ละขั้นตอนในคุณกโมคคัลลานสูตรได้เป็น
ผลสำเร็จ คำตอบคือ พระภิกษุนั้นควรจะนำวิธีการในธัมมัญญูสูตรมาใช้ซึ่งเราอาจทำความเข้าใจได้จากแผนผัง
ดังต่อไปนี้ (แผนผังในหน้า 17)
จากแผนผังดังกล่าว สามารถอธิบายให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “ขั้นตอน” (จากคุณกโมค
คัลลานสูตร) และ “วิธีการ” (จากธัมมัญญูสูตร) แต่พอสังเขปได้ดังนี้ คือ เมื่อพระภิกษุเริ่มต้นฝึกการสำรวม
ในปาฏิโมกข์ (ขั้นตอนที่ 1) ก็ให้ฝึกโดยอาศัยวิธีการจากธัมมัญญูสูตรมาใช้ดังนี้ คือ
1. การรู้จักธรรม ด้วยการศึกษาว่าปาฏิโมกข์คืออะไร มีอะไรบ้าง เป็นต้น
2. การรู้จักอรรถ คือทำความเข้าใจให้ได้ว่า หัวข้อปาฏิโมกข์ที่ศึกษาหมายความว่าอย่างไร และ
จะนำไปฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
3. รู้จักตน คือประเมินให้ได้ว่า การสำรวมในปาฏิโมกข์ทำให้ตนมีคุณธรรมก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหน
มีสิ่งใดต้องระมัดระวัง หรือเข้มงวดกวดขันตัวเองให้มากขึ้น เป็นต้น
บทต่อๆ ไป
สำหรับวิธีการฝึกในขั้นตอนอื่นๆ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ซึ่งรายละเอียดต่างๆ นั้น จะอธิบายใน
16 DOU แม่บท การฝึกอบรม ในพระพุทธศาสนา