ความหมายของอัตถัญญูในพุทธศาสนา SB 303 แม่บทการฝึกอบรมในพระพุทธศาสนา หน้า 84
หน้าที่ 84 / 252

สรุปเนื้อหา

อัตถัญญูหมายถึงความสามารถในการเข้าใจนัยและคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การฝึกปฏิบัติต้องมีพื้นฐานความรู้จากคำสอนในพระไตรปิฎก เพื่อไม่ให้หลงผิดในการตีความธรรมะ พระภิกษุต้องศึกษาคำสอนอย่างรอบคอบ และฝึกปฏิบัติไปควบคู่กับการเรียนรู้จากพระอุปัชฌาย์ หรือครูบาอาจารย์ เพื่อพัฒนาตนให้เป็นอัตถัญญบุคคล ซึ่งต้องการความเข้าใจที่ลึกซึ้งและสามารถนำธรรมะมาใช้ในชีวิตจริงเพื่อสร้างคุณธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอัตถัญญู
-ความสำคัญของธัมมัญญู
-การศึกษาพระไตรปิฎก
-การฝึกปฏิบัติตามคำสอน
-บทบาทของพระอุปัชฌาย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่นั้นปฏิบัติตาม ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ โดยความหมาย “อัตถัญญู” หมายถึง ความเป็นผู้รู้เนื้อความ หรือเข้าใจนัยต่างๆ ในคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วนำมาฝึกหัดปฏิบัติตามด้วยกาย วาจา และใจ 4.3 สาระสำคัญของอัตถัญญู จากพุทธพจน์เรื่องอัตถัญญูบอกให้เรารู้ว่า พระภิกษุจะไม่สามารถฝึกตนเองให้เป็นอัตถัญญูได้ อย่างสมบูรณ์เลย หากว่าไม่ได้เป็นธัมมัญญู ผู้รู้จักธรรมมาก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุใด ? ก็เพราะ.... 1. การศึกษาคำสอนจากขั้นตอนของธัมมัญญู จะเป็นกรอบความรู้ให้พระภิกษุทราบว่า พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงสอนอะไร เมื่อแยกแยะได้ว่าคำสอนใดใช่ หรือไม่ใช่ ก็จะช่วยให้เมื่อต้องทำความเข้าใจนัยหรือ ความหมาย จะมีกรอบไม่ให้หลงเข้าใจผิดไปจากความเป็นจริง 2. การได้รู้จักหัวข้อธรรมมากเท่าไร จะยิ่งทำให้ได้กรอบคำสอนที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้นไปเท่านั้น ซึ่ง หัวข้อธรรมต่างๆ ที่เรียนรู้มา สามารถจะนำมายืนยันซึ่งกันและกัน ว่านัยที่เราเข้าใจนั้นยังคงถูกต้องตาม พระธรรมคำสอนของพระองค์หรือไม่ อย่างไร ดังนั้นพระภิกษุจะต้องเป็นธัมมัญญโดยการศึกษาพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าทั้งหมด จนเห็นภาพรวมการสร้างบารมีของพระองค์ สามารถจดจำ และสรุปสาระสำคัญของธรรมะได้ ระดับหนึ่ง จากนั้นจึงจะนำคำสอนที่ศึกษานั้น มาพัฒนาตนเองให้เป็นอัตถัญญบุคคล ด้วยการ 1. พิจารณาไตร่ตรองธรรมะ จนเข้าใจความหมายในนัยต่างๆ ได้ อย่างถูกต้องลึกซึ้งแตกฉาน 2. สามารถนำธรรมะนั้น มาใช้ฝึกฝนอบรมตนเองจนเกิดเป็นคุณธรรมภายในได้ ในความเป็นจริงแล้ว คงไม่มีพระภิกษุรูปใด ที่ต้องรอให้ตนเองอ่านพระไตรปิฎกให้จบก่อน แล้ว จึงค่อยลงมือฝึกปฏิบัติเป็นแน่ ดังนั้นในการฝึกเพื่อเป็นอัตถัญญูจริงๆ พระภิกษุคงต้องศึกษาคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ หลังจากนั้นก็ทำความเข้าใจ และลงมือปฏิบัติไปควบคู่กัน ในเบื้องต้น อาจต้องพึ่งพาพระอุปัชฌาย์ หรือครูบาอาจารย์ท่านผู้รู้ทั้งหลาย ให้ช่วยแนะนำประคับประคอง พระภิกษุไปในระหว่างที่ฝึกหัดขัดเกลาตนเอง ระหว่างฝึกปฏิบัติก็ศึกษาพระไตรปิฎกไปด้วย โดยสรุปก็คือ 1 เรียบเรียงจาก ธรรมานุกรม สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, พระนคร,2527), หน้า 205-206 บทที่ 4 ขั้ น ต อ น ที่ 2 อัตถั ญ ญ DOU 73
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More