บทที่ 1: บทนำวิชา GB101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 13
หน้าที่ 13 / 270

สรุปเนื้อหา

บทที่ 1 แนะนำวิชา GB101 ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนาที่พูดถึงพระรัตนตรัย การเรียนรู้จะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจคำสอนในพระพุทธศาสนาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม โดยอ้างอิงจากพระไตรปิฎกและพระธรรมเทศนาที่สำคัญ เช่น พุทธธรรมจากหลวงปู่วัดปากน้ำ การอุปมาและเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจได้ดีขึ้น ทั้งนี้ วิชานี้เป็นรากฐานที่สำคัญในการเรียนต่อในสาขาพุทธศาสนาและเป็นแนวทางในการสร้างประโยชน์สุขให้ตนเองในชาตินี้และชาติหน้า

หัวข้อประเด็น

- พระรัตนตรัย
- ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา
- การศึกษาในระดับสูง
- อ้างอิงพระไตรปิฎก
- การอุปมาในการสอนธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 1 บทนํา วิชา GB101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนานี้กล่าวถึงเรื่องพระรัตนตรัยอันเป็นแก่นของ พระพุทธศาสนา เป็นสรณะคือที่พึ่งอันสูงสุดของมวลมนุษย์ เมื่อนักศึกษาเรียนวิชานี้แล้วก็จะมีความรู้ ความเข้าใจภาพรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาทั้งหมด สามารถนำความรู้ไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ หาก ปฏิบัติได้ถูกดี ถึงดี และพอดีตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว จะทำให้นักศึกษาได้รับประโยชน์ สุขทั้งในชาตินี้ ชาติหน้า และจะปัจจัยต่อการได้ประโยชน์สุขสูงสุดคือ การได้เข้าถึงพระรัตนตรัยภายในตัว แล้วกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไป ถูกดีคือถูกต้อง ถึงดีคือมากพอ พอดีคือเดินทางสายกลาง ไม่ทิ้งไป และไม่หย่อนไป อีกทั้งวิชานี้ยังเป็นความรู้พื้นฐานเพื่อการศึกษาวิชาอื่น ๆ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยธรรมกาย แคลิฟอร์เนียด้วย เมื่อได้ศึกษาวิชานี้แล้วจะทำให้เข้าใจภาพรวมเนื้อหาหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตทั้งหมด ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจในวิชาอื่น ๆ มากขึ้น หลักฐานอ้างอิงที่สำคัญของตำราเล่มนี้คือ พระไตรปิฎก, อรรถกถา, พระธรรมเทศนาของพระ เดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เป็นต้น โดย เฉพาะเรื่องพระรัตนตรัยภายในนั้นได้มีการเชื่อมโยงพุทธธรรมในพระไตรปิฎกกับพระธรรมเทศนาของ หลวงปู่วัดปากน้ำภาษีเจริญเข้าด้วยกัน ลักษณะการนำเสนอนั้นในบางประเด็นจะมีการอุปมากับเหตุการณ์หรือสิ่งต่าง ๆ ที่นักศึกษามี พื้นฐานความรู้อยู่แล้ว และบางประเด็นจะเปรียบเทียบกับคำสอนในศาสนาอื่น เปรียบเทียบกับศาสตร์ ต่าง ๆ ในทางโลก เปรียบเทียบและเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในชีวิตประจำวันของ ชาวโลกทั่วไป การอุปมาและเปรียบเทียบนั้นเป็นพุทธวิธีสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะธรรมะนั้น เป็นเรื่องลึกซึ้ง จะรู้แจ้งได้ด้วยการปฏิบัติธรรมเท่านั้น แต่เมื่อจะต้องอธิบายให้ชาวโลกทั่ว ๆ ไปเข้าใจ จึงต้องอุปมาและเปรียบเทียบกับสิ่งต่าง ๆ ที่คนทั่วไปมีความรู้อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้การเปรียบเทียบนั้นไม่ได้เป็นจุดประสงค์หลักของวิชานี้ เพียงแต่หยิบยกมาบางประเด็น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่กระจ่างเท่านั้น สิ่งที่นักศึกษาต้องตระหนักคือ ความรู้ต่าง ๆ ที่เราได้รับนั้นมาจากการเปรียบเทียบโดยมาก การ บ ท ที่ 1 บ ท นำ DOU 3
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More