ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป เวลาได้ยินเสียง เวลาดมกลิ่น เวลาสัมผัส เวลาลิ้มรส หรือระลึกถึงอารมณ์
ต่าง ๆ
ขั้นตอนที่ 3 รู้จักประมาณในโภชนะ จัดเข้าในปาริสุทธิศีลข้อ 4) คือ ปัจจัยสันนิสสิตศีล ได้แก่
ศีลที่ว่าด้วยการให้พิจารณาปัจจัย 4 ก่อนบริโภค คือ จีวร บิณฑบาต ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค โดยให้
พิจารณาว่า เราบริโภคสิ่งเหล่านี้เพื่อให้ยังชีพอยู่ได้ จะได้มีเรี่ยวแรงและบำเพ็ญสมณธรรมได้สะดวก
ไม่บริโภคด้วยตัณหา
ส่วนขั้นตอนที่ 4-6 เป็นเรื่องการเจริญสมาธิภาวนาซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ขั้นตอนที่ 4 ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่
เมื่อภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะได้แล้ว พระสัมมาสัมพุทธเจ้าย่อมแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า
ดูก่อนภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่ คือจงชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่งตลอดวัน จงชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอาวรณียธรรม ด้วยการ
เดินจงกรมและการนั่งตลอดปฐมยามแห่งราตรี จึงเอาเท้าซ้อนเท้า มีสติรู้สึกตัว ทำความสำคัญว่าจะลุกขึ้น
ไว้ในใจแล้วสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี จงลุกขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก
อาวรณียธรรม ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรีเถิด
คำว่า “ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเป็นผู้ตื่นอยู่” หมายถึง การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่
นอน กล่าวคือ ให้พระภิกษุรู้จักจัดสรรเวลาของตัวเอง เพื่อประโยชน์แก่การทำสมาธิเจริญภาวนา ไม่ยอม
ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า ตกไปในอำนาจของกระแสกิเลส มีความง่วงเหงาซึมเซา เป็นต้น โดยตรัสแนะนำ
การแบ่งเวลา เพื่อการทำสมาธิเจริญภาวนาไว้ 4 ช่วง คือ
1. ช่วงกลางวัน (06.00-18.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการเดินจงกรม และนั่ง
ท่าสมาธิภาวนา
2. ช่วงปฐมยามแห่งราตรี (18.00-22.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการ เดินจงกรม
และนั่งทําสมาธิภาวนาเช่นกัน
3. ช่วงมัชฌิมยามแห่งราตรี (22.00-02.00 น.) นอนพักด้วยสีหไสยา คือการนอนอย่างราชสีห์ โดย
นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าเหลื่อมกันเล็กน้อย มีสติสัมปชัญญะ พร้อมจะลุกขึ้นบำเพ็ญภาวนาต่อไป
ท่านอนตะแคงขวานี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่า เป็นท่าที่
ถูกหลักอนามัยที่สุด เพราะร่างกายจะไม่กดทับหัวใจ ช่วยให้หัวใจเต้นสะดวก อาหารจากกระเพาะถูกบีบลง
ลำไส้เล็กทำงานได้ดี ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังได้ด้วย
4. ช่วงปัจฉิมยามแห่งราตรี (02.00-06.00 น.) บำเพ็ญเพียรชำระจิตให้สะอาด ด้วยการเดินจงกรม
และนั่งทำสมาธิภาวนาเช่นเดิม
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 22 ข้อ 97 หน้า 145.
2 หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ (2550), นอนท่าไหน ? ปลอดภัยหลับสนิท, (ออนไลน์),
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 201