ข้อความต้นฉบับในหน้า
และเสด็จขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือน 6 เมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา
พุทธประวัตินั้นมีความพิเศษหลายประการ เช่น มีความชัดเจนไม่คลุมเครือ มีหลักฐานยืนยันการ
มีอยู่จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายทั้งเอกสารทางวิชาการรวมทั้งโบราณสถานและโบราณวัตถุ ก่อน
ออกผนวชพระองค์ก็ถึงพร้อมด้วยความสุขสูงสุดในทางโลกคือพร้อมทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ
สามารถเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลกและทวีปที่เหลืออีก 3 ทวีปได้ รูปสมบัติของพระองค์นั้นเลอเลิศ
กว่าใคร ๆ ในโลกและเทวโลก เพราะทรงได้ลักษณะมหาบุรุษซึ่งเป็นลักษณะร่างกายที่สมบูรณ์ที่สุด ผู้ที่จะ
ได้ลักษณะเช่นนี้ในกัปหนึ่ง ๆ อย่างมากมีเพียง 5 พระองค์เท่านั้น
ความพิเศษที่กล่าวมาโดยย่อนี้หาได้ยากในศาสดาของศาสนาอื่น โดยเฉพาะศาสดาผู้มีลักษณะ
มหาบุรุษนั้นไม่มีในศาสนาอื่นใดในโลก แต่เป็นเรื่องปกติของศาสดาในพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นสมัยใด
หากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น ก็จะทรงได้ลักษณะมหาบุรุษและสมบูรณ์พร้อมด้วยสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าว
และที่สำคัญการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นไม่ได้ตรัสรู้ด้วยการคิดแบบการค้นพบทฤษฎี
ของนักวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แต่ตรัสรู้ด้วยภาวนามยปัญญาคือการนั่งสมาธิทำใจหยุดนิ่ง ปลอดจากความคิด
ดังพระดำริของพระพุทธองค์ว่า “ธรรมที่เราได้บรรลุแล้วนี้ เป็นคุณอันลึกเห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก เป็น
ธรรมสงบ ประณีต ไม่หยั่งลงสู่ความตรึก ละเอียดเป็นวิสัยที่บัณฑิตจะพึงรู้แจ้ง...” ประโยคที่ว่า “ไม่หยั่ง
ลงสู่ความตรึก” มาจากบทว่า “อตกุกาวจโร” ในภาษาบาลี อธิบายว่า จะพึงค้นจึงหยั่งลงโดยการตรึกไม่ได้
จึงค้นได้ด้วยญาณเท่านั้น คำว่า “ตรึก” แปลว่า “ นึก หรือ คิด” คำว่า “พึ่งค้นได้ด้วยญาณเท่านั้น” คือ
ญาณอันเกิดจากภาวนามยปัญญานั่นเอง
ตอนที่หลวงปู่วัดปากน้ำได้เข้าถึงพระธรรมกายนั้น ท่านก็เคยคำนึงอย่างเดียวกันว่า “คัมภีโรจายัง
ธรรมเป็นของลึกถึงเพียงนี้ ใครจะไปคิดคาดคะเนเอาได้ พ้นวิสัยของความตรึกนึกคิด ถ้ายังตรึกนึกคิดอยู่ก็
เข้าไม่ถึง ที่จะเข้าถึงได้ ต้องทำให้รู้ตรึก รู้สึก รู้คิดนั้น หยุดเป็นจุดเดียวกัน แต่พอหยุดก็ดับ แต่พอดับแล้ว
ก็เกิด ถ้าไม่ดับแล้วไม่เกิด นี่เป็นของจริง หัวต่อมีเป็นอยู่ตรงนี้ ถ้าไม่ถูกส่วนดังนี้แล้ว ก็ไม่มีไม่เป็นเด็ดขาด”
5.4 การสร้างบารมีเพื่อเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
5.4.1 ความหมายและประเภทของพระโพธิสัตว์
คำว่า “พระโพธิสัตว์” มาจากคำในภาษาบาลีว่า “โพธิสตฺโต” ได้แก่ “สัตว์ผู้จะตรัสรู้ คือ สัตว์ผู้
ควรบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ” หมายถึง ผู้ที่ตั้งความปรารถนาว่าจะสร้างบารมีเพื่อตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต คำว่า “สัตว์” ในที่นี้เป็นความหมายโดยรวมอาจจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์
พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 68 ข้อ 7 หน้า 29.
* สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่ม 25 หน้า 115
* ราชบัณฑิตยสถาน (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์),
* ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต, มก. เล่ม 47 หน้า 636.
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 109