ไตรสิกขากับการฝึกปฏิบัติทางจิต GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 167
หน้าที่ 167 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงไตรสิกขาซึ่งประกอบด้วยข้อปฏิบัติ 3 ประการ ได้แก่ ศีล จิต และปัญญา โดยอธิบายถึงการไม่ทำบาป การทำกุศลให้ถึงพร้อม และการทำจิตให้ผ่องใส ทั้งยังกล่าวถึงระดับของไตรสิกขา คือ ระดับต้นที่เป็นการรู้และระดับสูงที่เป็นการเห็น พบกับคำอธิบายของพระมงคลเทพมุนีที่ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการฝึกปฏิบัติและการเตรียมจิตของผู้ฟังสำหรับการศึกษาอริยสัจ 4.

หัวข้อประเด็น

-ไตรสิกขา
-การไม่ทำบาป
-การทำกุศล
-การทำจิตให้ผ่องใส
-ระดับของไตรสิกขา
-อนุปุพพิกถา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

(1) การไม่ทำบาปทั้งสิ้น มาจากภาษาบาลีว่า สพฺพปาปสฺส อกรณ์ หมายถึง ไม่ทำชั่วด้วยกาย และด้วยวาจา สพฺพปาปสฺส อกรณ์นี้ครอบคลุมพระวินัยปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ “ศีลสิกขา” (2) การยังกุศลให้ถึงพร้อม มาจากภาษาบาลีว่า กุสลสฺสูปสมฺปทา หมายถึง ทำความดีให้ มีขึ้นด้วยกาย ด้วยวาจา และด้วยใจ กุสลสฺสูปสมฺปทา นี้ครอบคลุมพระสุตตันตปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าใน ไตรสิกขาก็จะตรงกับ “จิตสิกขา” (3) การทำจิตของตนให้ผ่องใส มาจากภาษาบาลีว่า สจิตฺตปริโยทปนํ หมายถึง ทำจิตใจ ของตนให้ผ่องใส สจิตฺตปริโยทปน์ นี้ครอบคลุมพระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด หากจัดเข้าในไตรสิกขาก็จะตรงกับ “ปัญญาสิกขา” 3) ไตรสิกขา ไตรสิกขา หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ต้องศึกษา 3 ประการ ดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสในภาวสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... ไตรสิกขาเป็นไฉน ไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา เมื่อใด.... เธอเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้วในไตรสิกขานี้ เมื่อนั้นภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้ตัดตัณหา ขาดแล้ว คลายสังโยชน์ได้แล้ว ได้ทำที่สุดทุกข์เพราะละมานะได้โดยชอบฯ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้อธิบายขยายความเรื่องไตรสิกขาไว้ว่ามี 2 ระดับ คือ ระดับปกติหรือระดับต้น และ ระดับสูงหรือเกินระดับปกติขึ้นไป ไตรสิกขาระดับต้นนั้น จะเรียกว่า ศีล จิต (สมาธิ) และ ปัญญา หรือเรียกว่า ศีลสิกขา จิตสิกขา (สมาธิสิกขา) และปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับต้นนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ “รู้” หมายถึง รู้ว่าไตรสิกขามี อะไรบ้าง เมื่อรู้แล้วก็ปฏิบัติตามหลักไตรสิกขานั้นเมื่อปฏิบัติแล้วก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงไตรสิกขาระดับสูงต่อไป ไตรสิกขาระดับสูงจะเรียกว่า อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา หรือเรียกว่า อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ไตรสิกขาระดับสูงนี้เป็นไตรสิกขาในระดับ “เห็น” หมายถึง ได้ปฏิบัติสมาธิจนสามารถ “เห็น” ได้ด้วยตาภายในว่าไตรสิกขาในตัวเรามีอะไรบ้าง กล่าวคือ ได้เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญาที่ อยู่ในตัว ที่ละเอียดเป็นชั้น ๆ เข้าไปนั่นเอง คำว่า “อธิ” ในคำว่า อธิศีล เป็นต้น แปลว่า ยิ่ง เกิน หรือล่วง หมายถึง ไตรสิกขาที่ยิ่งกว่าหรือ เกินกว่าหรือล่วงพ้นจากไตรสิกขาในระดับต้น 4) อนุปุพพิกถา อนุปุพพิกถา แปลว่า เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของผู้ฟังธรรมให้หมดจด เป็นชั้นๆ จากง่ายไปหายากเพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมจะรับฟังอริยสัจ 4 อันเป็นธรรมขั้นสูงต่อไป - พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต, ภาวสูตร, มก., เล่ม 36 ข้อ 376 หน้า 831. บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 157
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More