ข้อความต้นฉบับในหน้า
นั้นคงอยู่ตลอดไป ภวตัณหาเกิดสืบต่อมาจากกามตัณหาคือ กามตัณหาเป็นความอยากได้สิ่งต่างๆ เช่น อยาก
ได้ลูก อยากได้รถ อยากได้บ้าน ฯลฯ เมื่อได้มาแล้วเมื่อมีแล้วก็จะเกิดภวตัณหาคือ อยากให้สิ่งที่มีอยู่นั้น
คงอยู่ตลอดไป
ภวตัณหา แปลอีกนัยหนึ่งว่า ความอยากในภพ หลวงปู่วัดปากน้ำอธิบายไว้ว่าภพในที่นี้
หมายถึง “รูปภพ” อันเป็นที่อยู่ของรูปพรหม 16 ชั้น รูปพรหมทั้งหลายนั้นมีความอยากในรูปฌาน มีความ
ยินดีในรูปฌานในระดับต่าง ๆ ที่ตนได้ คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน เพราะเมื่อได้
รูปฌานเหล่านี้แล้วเป็นสุขสบายยิ่งกว่าความสุขในกามภพมากนัก ใจจึงจดจ่ออยู่กับฌานนั้น ๆ อย่าง
เหนียวแน่นยิ่งกว่าติดในกามอีก
วิภวตัณหา แปลว่า ความอยากในความไม่มีความไม่เป็น หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่เราไม่
ปรารถนาจะมีจะเป็น ก็อยากให้ตัวเราหรือคนที่เรารักไม่มีหรือไม่เป็นสิ่งนั้น เช่น อยากที่จะไม่เป็นโรคเอดส์
อยากที่จะไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นต้น
วิภวตัณหา แปลอีกนัยหนึ่งว่า ความอยากในวิภพ" หลวงปู่วัดปากน้ำอธิบายไว้ว่าวิภพ
ในที่นี้หมายถึง “อรูปภพ” อันเป็นที่อยู่ของอรูปพรหม 4 ชั้น อรูปพรหมทั้งหลายนั้นมีความอยากในอรูปฌาน
มีความยินดีในอรูปฌานในระดับต่าง ๆ ที่ตนได้เช่นเดียวกับรูปพรหม แต่ความสุขในอรูปฌานมีความ
ละเอียดประณีตมากกว่ารูปฌานมาก
เหล่ารูปพรหมและอรูปพรหมทั้งหลายต่างคิดว่าตนพ้นทุกข์แล้วและเข้าใจผิดว่าพรหม
สถานนั้นคืออายตนะนิพพาน ทำให้ติดอยู่แค่นั้นไม่ไปสูงกว่านั้น
(2) ความสัมพันธ์ของกิเลสอื่นกับตัณหา
ตัณหาเป็นกิเลสตระกูลโลภะดังที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 3 ว่า “โลภะนั้นเรียกว่า “ตัณหา” ด้วย
อ้านาจความอยาก เรียกว่า “ราคะ” ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า “นันท์” ด้วยอำนาจความเพลิดเพลิน”
ส่วนอวิชชาหรือโมหะคือความไม่รู้หรือความหลงนั้นเป็นรากเหง้าของตัณหา
สำหรับโทสะเป็นกิเลสที่เกิดต่อจากตัณหา เช่น อยากได้แล้วไม่ได้ดังใจหวังก็จะเกิดโทสะ
เกิดความหงุดหงิดรำคาญใจขึ้นมา หรืออยากให้แฟนของเรารักเราคนเดียว อยากให้เขาอยู่กับเราตลอดไป
แต่ยามใดก็ตามที่ทราบว่าแฟนปันใจให้คนอื่น ยามนั้นโทสะจะแสดงผลทันที และจะเกิดโทษต่าง ๆ ตามมา
มากมาย บ่อยครั้งที่ถึงขนาดฆ่ากันตาย ทั้งฆ่าแฟน ฆ่าใครต่อใครรวมทั้งฆ่าตัวตายเพื่อหลีกหนีความช้ำใจ
นี้คือตัวอย่างของโทสะที่เกิดจากตัณหา
(3) ธรรมชาติของตัณหา
ตัณหาทำให้มนุษย์ทั้งหลายไม่รู้จักคำว่าพอ พยายามแสวงหากามสุขมาบำรุงบำเรอตน
สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 14 หน้า 356.
สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย มหาวรรค มก., เล่ม 14 หน้า 356.
148 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า
ท