ข้อความต้นฉบับในหน้า
5.1.3 ประเภทของพุทธะ
ๆ
“พุทธะ” แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท คือ สุตพุทธะ, จตุสัจจพุทธะ, ปัจเจกพุทธะ
และ สัพพัญญูพุทธะ
(1) สุตพุทธะ หรือ พระสุตพุทธเจ้า หมายถึง ภิกษุผู้เป็นพหูสูต คือ ได้ศึกษาพุทธพจน์มามาก เช่น
พระอานนทเถระ หรือ ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎกต่าง ๆ เป็นต้น พระสุตพุทธเจ้าตามความหมายที่อรรถกถา
ให้ไว้ ไม่ได้ระบุว่าต้องตรัสรู้ธรรมเพียงแต่เป็นผู้ศึกษามากเท่านั้น
(2) จตุสัจจพุทธะ หรือ พระจตุสัจจพุทธเจ้า หมายถึง ภิกษุผู้มีกิเลสอาสวะสิ้นแล้ว คำว่า
จตุสัจจะ คือ อริยสัจ 4 ในที่นี้คือ ผู้ได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จตุสัจจพุทธะ
อาจจะเรียกว่า พระอนุพุทธะ คือ ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้าก็ได้
(3) ปัจเจกพุทธะ หรือ พระปัจเจกพุทธเจ้า หมายถึง ผู้ที่แทงตลอดปัจเจกพุทธญาณ คือ ตรัสรู้
ได้ด้วยตนเองแต่ไม่สอนใคร
(4) สัพพัญญูพุทธะ หรือ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า หมายถึง ผู้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณคือ
เป็นผู้ตรัสรู้ได้ด้วยตนเองและสอนให้ผู้อื่นตรัสรู้ตามได้ ได้แก่ พระสมณโคดมพุทธเจ้า เป็นต้น ดังนั้นผู้เป็น
ศาสดาซึ่งตั้งพระพุทธศาสนาขึ้นนั้นจึงหมายเอาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเท่านั้น แต่พระนามที่ชาวพุทธคุ้นเคย
คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระสัพพัญญูพุทธเจ้ายังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ พระปัญญาธิกพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าผู้ยิ่ง
ด้วยปัญญา, พระสัทธาธิกพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้าผู้ยิ่งด้วยศรัทธา และพระวิริยาธิกพุทธเจ้าคือพระพุทธเจ้า
ผู้ยิ่งด้วยความเพียร
5.1.4 ตำแหน่งพุทธะสาธารณะแก่ทุกคน
พุทธะเป็นตำแหน่งกลาง ๆ หากใครปรารถนาจะเป็นก็ให้ตั้งใจสั่งสมบุญสร้างบารมี เมื่อบารมี
เต็มเปี่ยมแล้วก็จะเป็นพุทธะประเภทนั้น ๆ ได้ สำหรับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดานั้น หลวงปู่วัดปากน้ำ
กล่าวไว้ว่ามีมากมายนับไม่ถ้วน ปัจจุบันปรากฏอยู่ด้วยพระธรรมกายในอายตนนิพพาน ด้วยเหตุนี้เมื่อพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสโอวาทปาฏิโมกข์จึงตรัสว่า “นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย” ใช้คำว่า
พระพุทธเจ้า “ทั้งหลาย” คือพระพุทธเจ้าทั้งในอดีตปัจจุบันและอนาคตก็สอนอย่างนี้ ในพุทธวงศ์มี
พระนามพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ 25 พระองค์คือ ตั้งแต่พระทีปังกรพุทธเจ้าจนถึงองค์ปัจจุบันคือพระ
สมณโคดมพุทธเจ้า ทั้ง 25 พระองค์นี้คือผู้ที่ได้ตรัสรู้ธรรมในยุคท้าย ๆ นี้ ก่อนหน้านี้มีผู้มาตรัสรู้เป็น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วนับพระองค์ไม่ถ้วน และในอนาคตจะมีผู้มาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีก
จํานวนมาก
1
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย เอกนิบาต มก. เล่ม 32 หน้า 213.
*พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 42 ข้อ 24 หน้า 276.
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า DOU 99