ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า “พระองค์จะทรงอุปมาได้หรือไม่ พระเจ้าข้า ”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ได้ ภิกษุ” แล้วตรัสว่า “เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรได้แล้ว จึงแสดง
แก่พระราชาว่า “ผู้นี้เป็นโจร ขอพระองค์จงทรงลงพระอาญาเถิด”
พระราชามีพระกระแสรับสั่งว่า “ท่านจงประหารบุรุษนี้ด้วยหอก 100 เล่ม ในเวลาเช้า” ราชบุรุษ
ก็ประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอก 100 เล่มในเวลาเช้า ต่อมาในเวลาเที่ยง พระราชาทรงถามว่า “บุรุษนั้นเป็น
อย่างไรบ้าง” ราชบุรุษกราบทูลว่า “เขายังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า”
พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ราชบุรุษประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่มในเวลา
เที่ยงวัน ต่อมาในเวลาเย็น พระราชาทรงถามอีกว่า “บุรุษคนนั้นเป็นอย่างไรบ้าง” ราชบุรุษกราบทูลว่า “เขา
ยังมีชีวิตอยู่ พระเจ้าข้า” พระราชาจึงมีพระกระแสรับสั่งให้ราชบุรุษประหารบุรุษคนนั้นด้วยหอกอีก 100 เล่ม
ในเวลาเย็น”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก 300 เล่ม จึงเสวยทุกข์บ้างไหม” ภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลว่า “บุรุษนั้นแม้ถูกประหารด้วยหอก 1 เล่ม ยังได้เสวยทุกข์เป็นอันมาก ไม่จำต้องกล่าวถึง
การถูกประหารด้วยหอกตั้ง 300 เล่ม พระพุทธเจ้าข้า”
จากนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงหยิบ “ก้อนหิน” ขนาดเท่าฝ่ามือขึ้นมา แล้วตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย
ก้อนหินขนาดเท่าฝ่ามือนี้กับขุนเขาหิมพานต์ อย่างไหนใหญ่กว่ากัน”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ก้อนหินนี้ มีประมาณน้อยนัก เปรียบเทียบกับขุนเขาหิมพานต์แล้ว
ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบกันได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ที่บุรุษนั้นถูกประหารด้วยหอก 300 เล่ม
นั้น เมื่อเปรียบเทียบกับทุกข์แห่งนรกแล้ว ไม่ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยว ไม่อาจเทียบกันได้
มหานรกนั้นมี 4 มุม 4 ประตู แบ่งออกเป็นส่วน มีกำแพงเหล็กล้อมรอบ ครอบด้วยฝาเหล็ก มี
พื้นเป็นเหล็ก ลุกโชนโชติช่วง แผ่ไปไกลด้านละ 100 โยชน์ทุกเมื่อ ภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ในโลกนี้กับ
ทุกข์ในนรกเปรียบเทียบกันด้วยการบอกไม่ได้”
ในท่ามกลางความทุกข์ในสังสารวัฏนี้พระรัตนตรัยเท่านั้นที่เป็นสรณะอันเกษมที่ช่วยให้มนุษย์
พ้นทุกข์ได้อย่างแท้จริง ส่วนสิ่งอื่นไม่ใช่ ดังพุทธดำรัสว่า “มนุษย์เป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึงภูเขา
ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ ว่าเป็นที่พึง สรณะนั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น
ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็น
อริยสัจ 4 (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึง
ความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดมเพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้”
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, พาลปัณฑิตสูตร, มจร. เล่ม 14 ข้อ 248-250 หน้า 293.
*พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 ข้อ 24 หน้า 276-277.
บ 3
64 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า