ข้อความต้นฉบับในหน้า
จนเที่ยงแท้แน่นอนแล้วว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต มีบารมีมากถึงระดับที่สามารถ
บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ในครั้งที่ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรก แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีโอกาสทำผิดศีลผิดธรรม
จนต้องไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานได้ ยังมีโอกาสไปเกิดเป็นเปรตและอสุรกายพวกอื่นนอกจากอภัพพฐานะ
ได้ และยังมีโอกาสตกมหานรกขุมที่ 1-7 ได้
ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าพระโพธิสัตว์ก็เป็นมนุษย์ธรรมดาคือมีโอกาสทำผิดพลาดได้เหมือนพวกเรา
เพราะท่านก็ยังมีกิเลสอยู่ แต่ท่านต่างจากคนทั่วไปตรงที่มีใจที่ยิ่งใหญ่ปรารถนาจะตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง
และสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม จะได้ไม่ต้องมาทนทุกข์ทรมานอยู่ในวัฏสงสารอีกต่อไป เมื่อนักศึกษาทราบอย่างนี้
แล้วจึงต้องระมัดระวังตนเองให้มาก อย่าประมาทเด็ดขาด เพราะต้นทุนของเราน้อยกว่าท่านมาก คือเรา
ยังไม่ได้รับพุทธพยากรณ์ จงตระหนักว่าชีวิตในสังสารวัฏเปรียบเสมือนเดินอยู่บนปลายหอกปลายดาบ
พลาดเมื่อไรเจ็บตัวเมื่อนั้น
(2) สาเหตุสำคัญของความผิดพลาดทั้งหลายคือ กิเลสซึ่งคอยบังคับใจให้ทำชั่ว ความประมาท
และสิ่งแวดล้อม ฯลฯ สาเหตุ 2 ประการแรกนักศึกษาคงเข้าใจกันดีแล้ว ส่วนสิ่งแวดล้อมในที่นี้หมายเอา
บุคคลเป็นหลัก เช่น ในพุทธันดรที่แล้วโชติปาละโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ทุกคนในครอบครัวเคารพ
พรหมและติเตียนเกลียดชังบรรพชิตทั้งหลาย พระโพธิสัตว์เกิดในเบ้าหลอมอย่างนี้ จึงทำให้ความคิดคำพูด
การกระทําเป็นไปตามเบ้าหลอมด้วย
ในเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้สามารถแก้ได้ด้วยการทำหน้าที่กัลยาณมิตรมาก ๆ ชวนคนทำความ
ดีในพระพุทธศาสนาให้มากยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยบุญนี้จะส่งผลให้เราได้เกิดในสิ่งแวดล้อมที่ดี มีคนดี ๆ อยู่รอบ
ตัวเรา และทุกครั้งที่สั่งสมบุญต้องอธิษฐานจิตเสมอว่า ให้ได้เกิดในตะกูลสัมมาทิฏฐิ ให้มีศรัทธาใน
พระพุทธศาสนา ให้มีกัลยาณมิตรช่วยชี้แนะหนทางสว่างให้แก่เรา และที่สำคัญคือขออย่าให้ทำบาปใด ๆ
โดยเฉพาะต่อผู้ที่มีคุณมากอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้าทั้งหลาย
เป็นต้น
(3) จะเห็นว่าแม้ในอดีตพระโพธิสัตว์จะทำผิดพลาดมามาก แต่สุดท้ายแล้วท่านก็ได้ตรัสรู้
ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรงนี้ชี้ให้เห็นว่าท่านมีจิตใจที่เข้มแข็งแน่วแน่มั่นคงมุ่งตรงต่อเป้าหมายคือ
การตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณอย่างเดียว แม้จะพลาดพลั้งไปตกอยู่ในมหานรก เมื่อพ้นกรรมแล้วก็สร้าง
บารมีต่อไป หรือเมื่อไปเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉานก็ไม่ละทิ้งการสร้างบารมี ยังคงเดินหน้าต่อไปอย่างเต็ม
กำลังเท่าที่อัตภาพนั้นจะทำได้
พระโพธิสัตว์จึงเป็นคนประเภทไม่มัวมานั่งเสียใจกับความพลั้งพลาดเมื่อวันวาน แต่จะนำ
สิ่งผิดไปแล้วมาพิจารณาสาเหตุและหาทางป้องกันเพื่อไม่เกิดขึ้นอีก เมื่อทำบ่อยเข้าความพลั้งพลาดก็จะ
ลดลงไปตามลำดับ จึงไม่สำคัญว่าเราจะล้มลงกี่ครั้ง แต่ทุกครั้งที่ล้มเราต้องกล้าที่จะเหยียนตัวยืนขึ้นใหม่เสมอ
ปุ้ย แสงฉาย (2511), มิลินทปัญหา, หน้า 306
134 DOU บ ท ที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า