ข้อความต้นฉบับในหน้า
พันธะและผู้ทำผิดกฎหมาย, ผู้พิการหรือมีอวัยวะไม่สมบูรณ์ และผู้ป่วยหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง
ประเภทที่ 1 ผู้ที่มีพันธะและผู้ทำผิดกฎหมาย ได้แก่ มารดาบิดาไม่อนุญาต, มีหนี้สิน, เป็นทาส,
ข้าราชการที่ไม่ได้รับอนุญาต, โจรผู้ร้าย และ คนที่ถูกออกหมายจับ เป็นต้น
ประเภทที่ 2 ผู้พิการหรือมีอวัยวะไม่สมบูรณ์ ได้แก่ มือเท้าด้วน หูขาด นิ้วขาด เอ็นขาด จมูก
แหว่ง นิ้วติดกันเป็นแผ่น ตาบอด ใบ้ หูหนวก ง่อย เปลี้ย คอพอก ค่อม เตี้ยเกินไป เท้าปุก ชราทุพพลภาพ
รูปร่างไม่สมประกอบ คนกระจอกคือฝ่าเท้าไม่ดีต้องเดินเขย่ง เป็นต้น
ประเภทที่ 3 ผู้ป่วยหนักหรือเป็นโรคร้ายแรง ได้แก่ โรคอัมพาต มีโรคเรื้อรัง โรคเรื้อน โรคฝี
โรคกลาก โรคลมบ้าหมู โรคมองคร่อ (โรคที่มีเสมหะแห้งอยู่ในก้านหลอดลม) โรคเหล่านี้ถือว่าเป็นโรค
ร้ายแรงในสมัยพุทธกาล ผู้ที่ป่วยจึงไม่ควรที่จะเข้ามาบวช แต่ในปัจจุบันมีโรคร้ายแรงต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น
โรคเอดส์ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคนี้ก็ไม่ควรให้บวชเช่นกัน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าหากพระอุปัชฌาย์ท่านใดให้บุคคลเหล่านี้บรรพชาจะต้องอาบัติทุกกฎ
แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีหลักฐานปรากฏว่า พระพุทธองค์ประสงค์ให้บุคคลที่ได้รับการบวชแล้วลาสิกขาแต่อย่างใด ใน
บางแห่งอรรถกถากล่าวไว้ว่า หากสงฆ์ให้บุคคลเหล่านี้บวชแล้ว “ก็เป็นอันอุปสมบทด้วยดี” บุคคลดังกล่าว
หากได้บวชแล้วจะสามารถดำรงเพศบรรพชิตอยู่ได้หรือไม่จึงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสงฆ์ในแต่ละวัด ถ้าข้อ
บกพร่องมีไม่มากก็คงให้บวชอยู่ได้ แต่ถ้าเห็นว่าหากให้อยู่ต่อไปจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ที่ดีของสงฆ์ก็
ควรให้ลาสิกขาออกไป
จะเห็นว่าระบบระเบียบการคัดคนเข้ามาบวชในพระพุทธศาสนานั้นระบุไว้อย่างละเอียดชัดเจนมาก
จึงเป็นเครื่องชี้วัดว่า ผู้ที่จะมาบวชได้จะต้องมีความสมบูรณ์พร้อมจริงๆ ทั้งเรื่องบุคลิกภาพและความประพฤติ
ต้องเป็นคนที่สั่งสมบุญมาอย่างดีแล้ว มาบวชเพื่อหวังทำพระนิพพานให้แจ้งอย่างแท้จริง และจะได้เป็น
ที่พึ่งให้พระศาสนาได้ ไม่ได้มาบวชเพื่อหวังพึ่งพระศาสนา มีข้อสังเกตว่า ผู้ที่ออกบวชในสมัยพุทธกาล
ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในทางโลกมาแล้ว ตั้งแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอัครสาวกทั้งสอง
พระมหาเถระผู้ใหญ่ 80 รูป ฯลฯ ก่อนบวชแต่ละรูปต่างถึงพร้อมทั้งรูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ และคุณสมบัติ
แต่ยังได้ละกามสุขทั้งปวงเพื่อแสวงหาสุขอันเที่ยงแท้ในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า
7.5.5 ศีลของพระภิกษุ
ศีลของพระภิกษุ เป็น “อปริยันตปาริสุทธิศีล” หมายถึง มากมาย ไม่มีที่สุด แต่โดยรวมแล้วแบ่ง
ออกเป็น 4 หมวดใหญ่ ๆ เรียกว่า ปาริสุทธิศีล 4 ดังนี้คือ
1) ปาฏิโมกขสังวรศีล หมายถึง ศีล 227 สิกขาบท
2) อินทรียสังวรศีล หมายถึง การสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป
- พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1 มก. เล่ม 6 ข้อ 135 หน้า 340.
2
สมันตปาสาทิก อรรถกถาพระวินัยปิฎก มหาวรรค มก. เล่ม 6 หน้า 350.
194 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า