การพิสูจน์ความจริงผ่านประสาทสัมผัสและใจ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 72
หน้าที่ 72 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เน้นการพิสูจน์ว่าความจริงไม่สามารถใช้เพียงแค่ประสาทสัมผัสห้าประการได้ จำเป็นต้องใช้ใจในการสำรวจโลกที่ละเอียด เช่น นรก สวรรค์ หรือแม้กระทั่งอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจ การไม่ยอมรับเรื่องใจจะขาดการเข้าใจประสบการณ์ที่หลากหลาย เช่น ความรัก ความโกรธ การพยายามพิสูจน์ความคิดด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ก็มีข้อจำกัด โดยเฉพาะการพิสูจน์ซึ่งเป็นแค่เครื่องแสดงความจริงในระดับที่เป็นเงา ข้อวิจารณ์ต่อความเชื่อของศาสนาผ่านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในการเข้าถึงความจริงที่ลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

-การพิสูจน์ความจริง
-ประสาทสัมผัส
-บทบาทของใจ
-การศึกษาศาสนา
-วิทยาศาสตร์และความเชื่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“รูป” ต้องพิสูจน์ด้วย “ตา”, “เสียง” ต้องพิสูจน์ด้วย “หู”, “กลิ่น” ต้องพิสูจน์ด้วย “จมูก”, “รส” ต้อง พิสูจน์ด้วย “ลิ้น”, “สัมผัสที่นุ่มหรือแข็ง” ต้องพิสูจน์ด้วย “ร่างกาย” เป็นต้น “หู, จมูก, ลิ้น, ร่างกาย” ไม่สามารถพิสูจน์ “รูปภาพ” ได้ว่าสวยหรือไม่สวยแต่จะต้องใช้ “ดวงตา” เท่านั้นในการพิสูจน์ ในขณะเดียวกัน “ตา, จมูก, ลิ้น, ร่างกาย” ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ “เสียงเพลง” ได้ว่าไพเราะหรือไม่ แต่จะต้องใช้ “หู” เท่านั้น ในการพิสูจน์ และในความเป็นจริงแล้วอินทรีย์ทั้ง 5 ประการยังต้องทำงานร่วมกับ อินทรีย์ 6 คือ ใจ อีก ชั้นหนึ่งจึงจะครบวงจรดังได้กล่าวแล้ว ในขณะเดียวกันอินทรีย์ที่ 6 คือ “ใจ” นี้ยังใช้ตัวมันเองพิสูจน์ความจริงของโลกได้อีกมากมาย โดยเฉพาะเรื่องละเอียดจำพวก นรก สวรรค์ นิพพาน โลกกันตนรก เป็นต้น เรื่องเหล่านี้ต้องใช้ใจพิสูจน์ เท่านั้น ไม่อาจจะใช้ ตา หู จมูก ลิ้น ร่างกายของกายมนุษย์พิสูจน์ได้ เปรียบเสมือนกับที่กล่าวแล้วว่า หู พิสูจน์ไม่ได้ว่า รูปภาพ สวยหรือไม่ ต้องใช้ ตา เท่านั้นจึงจะพิสูจน์ได้ เป็นต้นหากชาวโลกยอมรับเรื่องใจ และทดลองพิสูจน์ด้วยการฝึกใจให้ละเอียดด้วยการทำสมาธิ จนถึงระดับที่สามารถเห็นภพภูมิละเอียด เหล่านี้ได้ก็จะรู้ว่าสิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงตามที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ถ้าเราไม่ยอมรับอินทรีย์ที่ 6 เราจะขาดความรู้ต่อประสบการณ์ไปมากมาย เพราะประสบการณ์ พื้นฐานทั่วไปที่เกิดขึ้นในใจนั้นมีมาก เช่น ความรัก ความโกรธ ความกลัว ซึ่งไม่อาจพิสูจน์ได้ด้วยอินทรีย์อื่น เวลาเรามีความรัก เราก็รู้แก่ใจของเราเอง เวลามีความกลัว มีความรู้สึกโกรธ ก็รู้สึกได้โดยตรง แต่วงการ วิทยาศาสตร์มักเข้าใจไปว่า สิ่งเหล่านี้เกิดจากสมองไม่ได้เกิดจากใจ เมื่อไม่ยอมรับเรื่องใจก็เลยจะต้องหา ทางพิสูจน์อารมณ์ต่าง ๆ ที่เกิดกับใจด้วยการใช้เครื่องมือเครื่องวัดที่แสดงผลออกมาเป็นประสบการณ์ที่ รับรู้ได้ด้วยอินทรีย์ทั้ง 5 เช่น เมื่อต้องการจะรู้ความคิดในใจ ก็พยายามประดิษฐ์เครื่องวัดคลื่นสมอง ซึ่ง ไม่ถูกต้อง การพยายามพิสูจน์ความคิดที่เกิดกับใจด้วยอินทรีย์ 5 ของนักวิทยาศาสตร์ ตรงกับที่นัก วิทยาศาสตร์ท่านหนึ่งชื่อ เอดดิงตัน เคยบอกว่า “วิทยาศาสตร์ไม่สามารถนำมนุษย์เข้าถึงตัวความจริง หรือสัจจภาวะได้โดยตรง จะเข้าถึงได้ก็เพียงโลกแห่งสัญลักษณ์ที่เป็นเพียงเงา” กล่าวคือเป็นเพียง “shadow” คือเงาของความจริง ไม่ใช่ตัวความจริง เป็นเครื่องแสดงว่า ความจริงทางวิทยาศาสตร์มีความบกพร่อง และ วิธีการหาความจริงของวิทยาศาตร์ก็บกพร่อง เพราะทำผิดหลักการพิสูจน์ความจริง คือ พิสูจน์ ประสบการณ์ของอินทรีย์หนึ่งด้วยอินทรีย์อื่น ผิดอินทรีย์กัน ถ้าอยู่ในลักษณะนี้ วิทยาศาสตร์ก็จะพิสูจน์ เงาของความจริงเรื่อยไป วงการวิทยาศาสตร์มักกล่าวว่าคำสอนในศาสนา เช่น พระพุทธศาสนา เป็นเรื่องความเชื่อ ไม่ใช่ความรู้ หรือความจริง เพราะยังพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ จริง ๆ แล้วความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันสำหรับชาวโลกทั่วไปแล้ว เป็นเรื่องของความเชื่อเสียเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพราะเป็น เรื่องยากแก่การพิสูจน์บ้าง หรือไม่ก็ไม่สนใจจะพิสูจน์บ้าง ชาวโลกเชื่อว่าเชื้อโรคเป็นเหตุแห่งการเจ็บป่วย เพราะเชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ ไม่ค่อยมีใครคิดจะหากล้องจุลทรรศน์มาพิสูจน์เรื่องนี้กัน นักวิทยาศาสตร์ 62 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More