ข้อความต้นฉบับในหน้า
กล่าวคือ การได้ปฏิบัติมรรคมีองค์แปดด้วยการเจริญสมาธิภาวนาจนเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัว เมื่อเข้าถึง
พระรัตนตรัยแล้วจึงเห็นอริยสัจภายในได้ ดังพุทธดำรัสว่า “บุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ 4 (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐ
ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์”
พุทธดำรัสที่ว่า “บุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง” หมายถึง “การเข้าถึง”
พระรัตนตรัยภายในและยึดเอาพระรัตนตรัยดังกล่าวเป็นที่พึ่ง ไม่ได้หมายถึง “การขอถึง” ด้วยการกล่าว
โดยวาจา
พุทธดำรัสที่ว่า “ย่อมเห็นอริยสัจ 4” หมายถึง การเห็นแจ้งด้วยธรรมจักษุของพุทธรัตนะ หรือ
พระธรรมกายภายใน และเมื่อเห็นแจ้งแล้วก็จะรู้แจ้งได้ด้วย “ญาณทัสสนะ” ของพระธรรมกาย ซึ่ง
ญาณทัสสนะนี้เป็น “ธรรมขันธ์” ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ของกายมนุษย์ ประเด็นนี้สอดคล้องกับคำกล่าวของ
พระสรภังคเถระที่ว่า
“พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี สิขี เวสสภู กกุสันธะ โกนาคมนะ และกัสสปะได้ทรง
ดำเนินไปโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ทรงดำเนินโดยทางนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง 7
พระองค์ปราศจากตัณหาไม่ทรงยึดมั่น หยั่งถึงความดับ เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่ ได้ทรงแสดงธรรม
นี้คือ อริยสัจ 4 อันได้แก่ ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางที่ดำเนินไปให้ถึงความสิ้นทุกข์ด้วย
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์”
นั่นคือเมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้ว ก็จะได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 เมื่อตรัสรู้แล้วก็แสดงอริยสัจ 4 ดังกล่าว
โปรดชาวโลกต่อไป
อีกนัยหนึ่งที่กล่าวว่า “เมื่อบุคคลถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้วย่อมเห็นอริยสัจ 4 เป็นการเห็น
แจ้งด้วยธรรมจักษุของพระธรรมกายนั้น เพราะหากเป็นการรู้และเห็นแบบทั่ว ๆ ไป ไม่จำเป็นต้องถึงพระ
รัตนตรัยเป็นที่พึ่งก็รู้และเห็นทุกข์ได้ แม้คนต่างศาสนาที่ไม่รู้จักพระรัตนตรัยก็รู้และเห็นได้ด้วยตามนุษย์ว่า
ชีวิตมีทุกข์ดังได้กล่าวแล้วในบทที่ 2 เรื่องพื้นฐานชีวิตของมนุษย์
6.4 ความสัมพันธ์โดยองค์รวมของพระธรรม
6.4.1 แผนผังพระธรรมในพระไตรปิฎก
พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้ให้ภาพรวมหลักธรรม
สำคัญในพระไตรปิฎกไว้อย่างชัดเจนดังภาพที่แสดงไว้นี้ จะเห็นว่าหลักธรรมทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้
ผู้ปฏิบัติบรรลุ “นิโรธ” หรือ “นิพพาน” อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก., เล่ม 42 ข้อ 24 หน้า 276-277.
* พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา สัตตกนิบาต สรภังคเถรคาถา มจร., เล่ม 26 ข้อ 490-492 หน้า 422
154 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า