ข้อความต้นฉบับในหน้า
อุบาสกพาเราเข้าเฝ้าพระกัสสปชินพุทธเจ้า เราฟังธรรมแล้วก็บวชในสำนักของพระองค์... เราเล่าเรียน
นวังคสัตถุศาสน์ พุทธวจนะตลอดทั้งหมด ยังพระศาสนาของพระชินพุทธเจ้าให้งามแล้ว” หรือ พระศรีอริย
เมตไตรย์โพธิสัตว์ ก็ได้ออกบวชอยู่ในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราด้วยเช่นกันมีนามว่า
“อชิตภิกษุ”
การตรัสรู้ด้วยพระองค์เองของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นหมายเอาชาติสุดท้าย ส่วนในเส้น
ทางการสร้างบารมีนั้นต้องอาศัยครูนำทางมาเป็นระยะ ๆ
การเลือกครูต้องพิจารณา 2 เรื่องใหญ่คือ ต้องพิจารณาจากการมีความรู้จริง และการมีนิสัยดีจริง
เราจึงจะแน่ใจได้ว่า ท่านสามารถสอนเราได้จริงทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพราะว่าการที่ท่านมีนิสัย
ดีจริงนั้น ก็เท่ากับเป็นการยืนยันว่า เรื่องที่ท่านกำลังสอนอยู่นั้นท่านปฏิบัติได้จริง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ครู
ที่ดีจะต้องทั้งแนะและนำเราในทางที่ถูกต้องและดีได้ “แนะ” คือให้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่วน “น้ำ” คือ ปฏิบัติ
ตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้เราได้ทั้งในเรื่องงานและเรื่องการดำเนินชีวิต
คำว่าครูนั้นหมายเอาบุคคลเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามสิ่งอื่น ๆ ก็สามารถเป็นครูเราได้เช่นกัน
โดยเฉพาะสื่อที่ให้ความรู้ต่าง ๆ ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เน็ต นิตยสาร หนังสือเรียน หนังสือธรรมะ
หนังสือพิมพ์ และอื่น ๆ เพราะสื่อเหล่านี้ได้นำคนและสิ่งแทนของคนออกเผยแพร่สู่สายตาของสาธารณชน
จำนวนมาก ปัจจุบันคนแต่ละคนไม่จำเป็นต้องพบกันโดยตรงก็สามารถสื่อสารกันได้ทั่วทุกมุมโลกผ่านสื่อที่
ทันสมัย คนได้ลงไปอยู่ในสื่อต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ทั้งสิ่งที่ดีและไม่ดีไปสู่ชาวโลกอย่างกว้างขวาง และยาก
ต่อการควบคุม
ปัจจุบันชาวโลกตระหนักดีว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการให้ความรู้ และการเป็นแบบอย่างทั้งด้านดีและ
ไม่ดีเพื่อให้คนเลียนแบบอย่างมาก เช่น เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช
ผู้นำสหรัฐอเมริกา เจอการประท้วงที่คาดไม่ถึงจากนักข่าวอิรักรายหนึ่งโดยขว้างรองเท้าใส่ท่าน หลังจาก
นั้นไม่นานได้เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ครั้งคือ ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
หนุ่มนักสิทธิมนุษยชนในอังกฤษถอดรองเท้าปาใส่นายเหวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนที่อยู่ระหว่างการ
เยือนอังกฤษ และในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 นักข่าวในอินเดียได้ปารองเท้าเฉี่ยวหน้ารัฐมนตรีมหาดไทย
กลางงานแถลงข่าวในกรุงนิวเดลี
8 พระองค์คือ สมัยพระโกณฑัญญพุทธเจ้า, พระมงคลพุทธเจ้า, พระสุเมธพุทธเจ้า, พระสุชาติพุทธเจ้า, พระปุสส
พุทธเจ้า, พระเวสสภูพุทธเจ้า, พระโกนาคมนพุทธเจ้า, และ พระกัสสปพุทธเจ้า
2 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ มก. เล่ม 73 ข้อ 25 หน้า 668.
*พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทตตชีโว) (2550), ชีวิตนี้มีไว้ทุ่มเดิมพัน, หน้า 15-16.
บ ท ที่ 2 ค ว า ม
มรู้ ทั่ ว ไ ป ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 27