ข้อความต้นฉบับในหน้า
ครั้งหนึ่งพระปุณณิกาเถรีกล่าวกับพราหมณ์คนหนึ่งผู้เชื่อว่าจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้เพราะ
การอาบน้ำว่า “ใครหนอ ช่างไม่รู้มาบอกแก่ท่าน ซึ่งก็ไม่รู้ว่า คนจะหลุดพ้นจากบาปกรรมได้เพราะการอาบน้ำ
พวกกบ เต่า งู จระเข้ และสัตว์อื่นใดที่สัญจรอยู่ในน้ำทั้งหมด ก็คงจะพากันไปสวรรค์แน่แท้”
สำหรับการอ้อนวอนต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ตนได้สิ่งที่ปรารถนานั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า
“อายุ วรรณะ สุข ยศ และ สวรรค์ เป็นสิ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม 5
ประการนี้ เรามิได้กล่าวว่าจะพึงได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนา ถ้าธรรม
5 ประการนี้ จักได้เพราะเหตุแห่งความอ้อนวอน หรือเพราะเหตุแห่งความปรารถนาแล้วไซร้ ในโลกนี้
ใครจะพึงเสื่อมจากอะไร... อริยสาวกผู้ต้องการอายุ พึงปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่ออายุ เพราะปฏิปทาอัน
เป็นไปเพื่ออายุที่พระอริยสาวกนั้นปฏิบัติแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อให้ได้อายุ อริยสาวกผู้นั้นย่อมได้อายุที่เป็น
ของทิพย์หรือเป็นของมนุษย์...”
บุคคลปรารถนาสิ่งใดพึงปฏิบัติปฏิปทาเพื่อให้ได้สิ่งนั้น บุคคลผู้ปรารถนาสวรรค์ก็พึงปฏิบัติ
ปฏิปทาคือกรรมดี ได้แก่ ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใสอย่างเต็มกำลัง ด้วยจิตใจที่ผ่องใสเมื่อละโลก สุคติโลก
สวรรค์ก็จะเป็นที่ไป ในทางตรงข้ามคนที่ทำความชั่วอยู่เป็นประจำ เมื่อถึงวันละโลกแม้ตนเองและหมู่ญาติ
จะช่วยกันอ้อนวอนต่อผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์เพื่อให้ได้ไปสวรรค์ ก็ไม่อาจช่วยได้ จะต้องตกลงสู่อบายภูมิมี
นรก เป็นต้น อย่างแน่นอน เปรียบเหมือน บุรุษโยนหินก้อนหนาใหญ่ลงในห้วงน้ำลึก หมู่มหาชนพึงมา
ประชุมกันแล้วสวดวิงวอนสรรเสริญ ประนมมือเดินเวียนรอบหินนั้นว่า “ขอจงโผล่ขึ้นเถิดท่านก้อนหิน
ขอจงลอยขึ้นเถิดท่านก้อนหิน....” ก้อนหินนั้นก็ไม่อาจลอยขึ้นมาได้ฉันนั้น
2.5.4 ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้าย และไม่ก่อสงคราม
ศาสนาในโลกมีอยู่หลายศาสนา แต่ละศาสนาต่างเชื่อว่าคำสอนของตนถูกต้องตรงตามความเป็น
จริงของโลกและชีวิต และพยายามเผยแผ่คำสอนของตนออกไปให้กว้างขวางที่สุด ตามประวัติศาสตร์มีอยู่
หลายศาสนาที่ใช้วิธีการเผยแผ่ด้วยการว่าร้ายศาสนาอื่น เพื่อให้มีความน่าเชื่อถือลดลง เช่น เมื่อครั้งที่
ศาสนาพุทธในศรีลังกาเคยถูกโจมตีจากศาสนิกอื่นในยุคล่าอาณานิคม บางศาสนาก็ใช้วิธีข่มขู่บังคับเพื่อให้
เปลี่ยนศาสนา ใครไม่ยอมก็จะถูกทำร้ายจนบาดเจ็บล้มตายไปก็มาก บางศาสนาถึงกับยกทัพออกไปฆ่าฟัน
กันเพื่อแย่งชิงเมืองเยรูซาเล็มซึ่งต่างฝ่ายก็คิดว่าเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของตน คำว่า “สงครามครูเสด
- พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ มก. เล่ม 81 หน้า 477.
2 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา มก. เล่ม 54 ข้อ 466 หน้า 341.
* พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต, อิฏฐสูตร, มก. เล่ม 36 ข้อ 43 หน้า 97-99.
* พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค, ภูมกสูตร, มก. เล่ม 29 ข้อ 499 หน้า 89-192.
บ ท ที่ 2 ค ว า ม
มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า DOU 23