ผลกระทบของสื่อมวลชนต่อพฤติกรรมเยาวชน GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 38
หน้าที่ 38 / 270

สรุปเนื้อหา

การแสดงออกของผู้คน เช่น เหตุการณ์การปารองเท้า เป็นผลกระทบจากสื่อที่แพร่หลาย โดยเฉพาะการสร้างแรงกระตุ้นในเยาวชน สื่อมวลชนควรเสนอข่าวดีและข่าวสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นให้นำเสนอสิ่งที่ดีในสังคม ในขณะที่ผู้เสพสื่อควรเลือกเสพเนื้อหาที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ การฟังคำสอนก็มีความสำคัญ โดยต้องฟังให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เข้าใจผิด ซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนรู้และการสื่อสารของเยาวชน หากผู้สอนไม่ได้ให้นิยามที่ชัดเจน ผู้เรียนจะประสบปัญหาในการเรียนรู้ได้

หัวข้อประเด็น

-ผลกระทบของสื่อ
-การฟังคำสอน
-การตั้งคำถามในการเรียนรู้
-การเลือกเสพสื่อ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เหตุการณ์ปารองเท้าในประเทศอังกฤษและในอินเดียอาจจะไม่เกิดขึ้น หากไม่มีภาพข่าวการ ปารองเท้าเข้าใส่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู บุช ในประเทศอิรัก เผยแพร่ไปทั่วโลก ด้วยเหตุนี้สื่อจึง มีผลต่อพฤติกรรมของคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนด้วยแล้ว มีตัวอย่างให้เห็นจำนวนมากใน ปัจจุบัน ดังนั้น ประเด็นสำคัญจึงมีอยู่ 2 ประการคือ สื่อมวลชนควรเสนอข่าวดี ๆ ข่าวสร้างสรรค์เป็นหลัก และผู้เสพสื่อก็ควรเลือกเสพสีขาวเป็นหลัก สำหรับเหตุการณ์หรือสิ่งที่ไม่ดีที่เกิดขึ้นนั้นก็ให้ช่วยกันจัดการ แก้ไขไม่ใช่ปล่อยไว้เฉย ๆ 2.6.2 สัทธรรมสวนะ : ฟังคำสั่งสอนของท่าน สัทธรรมสวนะ หมายถึง ฟังคำสอนของท่าน ในหัวข้อนี้พระเดชพระคุณพระภาวนาวิริยคุณ รอง เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายกล่าวไว้ว่าเมื่อเราได้พบครูดีแล้ว สิ่งสำคัญอันดับสองก็คือ “ต้องฟังคำครูให้ชัด” อย่าได้ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเพี้ยนความหมาย เพราะถ้าฟังไม่ชัด แล้วจำไปทำผิดๆ ก็จะก่อปัญหาให้ มากมายในภายหลัง การฟังครูให้ชัด คือ ฟังแล้วอย่าฟังผ่าน ๆ ฟังแล้วจะต้อง “จับประเด็นได้” และ จะต้องได้ “คำ จำกัดความ” ของเรื่องนั้น ๆ ออกมาอย่างชัดเจน การจับประเด็น ได้แก่ การตั้งคำถามว่า “What” กล่าวคือ ครูพูดถึงเรื่องอะไรบ้าง ประเด็นใหญ่ คืออะไร ประเด็นย่อย มีอะไรบ้าง หรือหากเป็นการอ่านหนังสือ ก็ต้องจับประเด็นให้ได้ว่า หนังสือที่อ่าน กล่าวถึงเรื่องอะไร หากไม่รู้จักจับประเด็น เราจะได้ประโยชน์จากการฟังหรือการอ่านน้อยมาก เพราะเมื่อ ฟังหรืออ่านหนังสือจบแล้ว จะจำอะไรแทบไม่ได้เลย แต่ถ้าจับประเด็นได้ อย่างน้อย ๆ เราจะจำประเด็นได้ เมื่อจำประเด็นได้จะสามารถเชื่อมโยงไปสู่รายละเอียดได้ เมื่อจับประเด็นได้แล้วขั้นต่อไปก็ต้องได้ “คำจำกัดความ” ของประเด็นนั้น ๆ หรือเรื่องนั้น ๆ อย่าง ถูกต้อง คำจำกัดความ คือ การกำหนดความหมายที่ถูกต้องและชัดเจน ทั้งในทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพื่อ ให้ครูและนักเรียน เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ในเรื่องความหมาย หลักการปฏิบัติ ทิศทางการปฏิบัติ และ ผลลัพธ์ที่ได้จากการปฏิบัติในเรื่องนั้น ๆ การศึกษาเรื่องใดก็ตามถ้าผู้สอนไม่ให้คำจำกัดความแก่ผู้เรียนอย่างชัดเจน ก็เท่ากับตกม้าตายตั้ง แต่ต้นทันที เพราะเมื่อคำจำกัดความไม่ชัดแล้ว ผู้เรียนจะมีโอกาสเข้าใจผิดได้ ส่งผลให้การคิด การพูด และ การปฏิบัติย่อมเกิดผิดพลาดตามไปด้วย ผลลัพธ์ที่ออกมาย่อมทำให้เกิดปัญหาเดือดร้อนยุ่งยากตามมาทันที เพราะฉะนั้น ใครที่เป็นครูสอนเรื่องอะไร หรือใครที่ศึกษาเรื่องอะไร เพื่อป้องกันความผิดพลาด ต้องเอาความจำกัดความในเรื่องที่เรียนนั้นออกมาให้ได้ ถ้าครูไม่ได้ให้มา ก็ต้องซักถามกับครูให้เป็น ถ้าครู ตอบแล้วยังเข้าใจไม่ชัดเจน ก็ต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมเอง วิธีการหาคำจำกัดความแบบง่าย ๆ ก็คือ การตั้งคำถามในเรื่องที่เรียนด้วยคำว่า “อะไร” หรือที่ 28 DOU บ ท ที่ 2 ความ ท มรู้ทั่วไป ทาง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More