หลักธรรมในพระไตรปิฎกและการพัฒนานิสัยที่ดี GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 175
หน้าที่ 175 / 270

สรุปเนื้อหา

หลักธรรมในพระไตรปิฎกถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม โดยเน้นหลักมนุษย์ศาสตร์เพื่อให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ รวมถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข ตัวอย่างที่อ้างอิงถึงคือ การส่งเสริมความเข้าใจในกฎแห่งกรรมเพื่อไม่ให้เกิดการก่อการร้ายในสังคม นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความสำคัญของการเป็นกัลยาณมิตรในการเผยแพร่ธรรมคำสอนและลดปัญหาความขัดแย้งในสังคม เพื่อการปฏิบัติธรรมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเนื้อหาสนับสนุนการบ่มเพาะนิสัยดีให้เกิดขึ้นในตัวบุคคลและสังคม โดยเฉพาะในปรากฏการณ์เชิงสังคมอย่างเช่นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตอนใต้และทั่วโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อความสงบสุขในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-หลักธรรมในพระไตรปิฎก
-การพัฒนานิสัยที่ดี
-การอยู่ร่วมกันในสังคม
-บทบาทของกัลยาณมิตร
-มรรคมีองค์แปด
-การเผยแผ่พระธรรมคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้เรียบร้อย เป็นต้น ก็ให้เลิกเสีย ส่วนวิธีการใช้ห้องอื่น ๆ ก็เช่นกันคือ ต้องเป็นวิธีที่เกื้อหนุนต่อการบ่ม เพาะนิสัยที่ดีให้เกิดขึ้น 6.6 หลักธรรมที่เกื้อหนุนมรรคมีองค์แปด หลักธรรมในพระไตรปิฎกอาจจัดแบ่งได้อีกรูปแบบหนึ่งคือ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องมนุษย์ เรื่องสังคม และเรื่องสิ่งแวดล้อม หากเทียบกับหมวดวิชาในทางโลกจะได้ดังนี้คือ เรื่องมนุษย์ คือ หมวด มนุษยศาสตร์ เรื่องสังคมคือ หมวดสังคมศาสตร์ และเรื่องสิ่งแวดล้อม คือ หมวดวิทยาศาสตร์ ทั้ง 3 หมวด วิชานี้ครอบคลุมศาสตร์ทั้งปวงในทางโลก หลักธรรมในพระไตรปิฎกเน้นเรื่องมนุษย์ศาสตร์เป็นหลัก เพราะจุดประสงค์หลักในการแสดง ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ เพื่อให้มนุษย์พ้นจากความทุกข์ ส่วนเรื่องสังคมศาสตร์และ วิทยาศาสตร์นั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเพื่อเสริมหรือเกื้อหนุนหลักธรรมที่ว่าด้วยการพ้นทุกข์คือ มรรค มีองค์แปดเท่านั้น 6.6.1 หลักธรรมหมวดสังคมศาสตร์ หลักธรรมหมวดสังคมศาสตร์ว่าด้วยเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสถึงธรรมเหล่านี้ไว้เพื่อให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข เมื่อเป็นสุขแล้วก็จะช่วยให้ปฏิบัติมรรคมีองค์ แปดได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องวิตกกังวลและตามแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากการอยู่ร่วมกัน จะมีเวลาในการ ปฏิบัติธรรมมากขึ้น หลักธรรมหมวดนี้มีทั้งด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ วาทศาสตร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีหลักธรรมเกี่ยวกับการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือ การชวนคนทำความดี การ เผยแผ่พระธรรมคำสอนไปสู่ชาวโลก สาเหตุสำคัญที่ต้องมีหลักธรรมนี้ก็เพื่อช่วยให้ชาวโลกพ้นทุกข์ เมื่อ ชาวโลกพ้นทุกข์หรือได้เจอที่พึ่งภายในแล้ว สังคมโดยรวมก็จะสงบสุข เป็นเหตุให้มวลมนุษย์มีเวลาปฏิบัติ ธรรมเพื่อการบรรลุประโยชน์สูงสุดได้อย่างเต็มที่ สิ่งที่ต้องตระหนักคือ เราไม่อาจจะอยู่ได้อย่างเป็นสุขหากคนรอบบ้านเรายังเป็นคนพาล เพราะ ไม่ช้าไม่นานความพาลของเขาจะส่งผลกระทบถึงเราผู้เป็นคนดี เราอาจจะถูกประทุษร้ายด้วยวิธีการต่างๆ เราอาจจะนอนไม่หลับเพราะเพื่อนบ้านตั้งวงดื่มเหล้ากันอย่างเมามายในยามดึกดื่น ลูกหลานของเราอาจ จะถูกกระทำชำเราจากมิจฉาชีพต่าง ๆ เป็นต้น สถานการณ์การก่อการร้ายใน 3 จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทยและการก่อการร้ายทั่วโลกเป็น สิ่งที่ทำให้เราต้องตระหนักว่า เราไม่อาจจะเป็นคนดีเพียงลำพังได้ จะต้องทำหน้าที่กัลยาณมิตรให้ชาวโลก เข้าใจกฎแห่งกรรมด้วย หากเขาเข้าใจว่านรกสวรรค์มีจริง เขาจะไม่ก่อการร้ายอย่างที่ผ่านมาแน่นอน แม้ ภารกิจดังกล่าวจะเป็นเรื่องยากและไม่อาจจะทำให้คนทั้งโลกเข้าใจความเป็นจริงของชีวิตได้ทั้งหมด แต่ก็ เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ อีกทั้งเราจะได้บุญบารมีจากการนี้ด้วย และถ้าสามารถทำให้คนกลุ่มใหญ่หรือ กลุ่มที่มีอำนาจในสังคมเป็นคนดีได้ ก็จะทำให้สังคมโลกโดยรวมสงบสุขได้ง่าย บทที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 165
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More