ข้อความต้นฉบับในหน้า
มาอยู่ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ”
และดังคำกล่าวของพระองคุลิมาลอรหันตสาวกที่ปรากฏในอังคุลิมาลสูตร
สรุปความได้ว่า “เมื่อก่อนเราเป็นโจรชื่อองคุลิมาล ถูกกิเลสดุจห้วงน้ำใหญ่พัดไป เรากระทำกรรมคือฆ่าคน
ที่จะให้ถึงทุคติไว้มาก อันวิบากของกรรมถูกต้องแล้ว”
จากที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า “กิเลส” ได้แก่ อวิชชา และตัณหา เป็นต้น เป็นเหตุให้สร้าง “กรรม”
ต่าง ๆ เช่น โจรองคุลิมาลสร้างกรรมด้วยการฆ่าคนถึง 999 คน ซึ่งปกติกรรมนี้จะส่งผลให้เกิด “วิบาก” คือ
“การเวียนว่ายตายเกิด” ไปสู่ทุคติภูมิ ได้แก่ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
กรรมขององคุลิมาลหนักมาก ปกติแล้วเมื่อตายไปต้องไปตกนรกยาวนาน แต่เนื่องจากภายหลัง
องคุลิมาลออกบวชและได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด จึงไม่ต้อง
ไปรับผลกรรมอันเป็นวิบากในทุคติภูมิอีก แต่ยังต้องรับวิบากแห่งกรรมในปัจจุบันชาติอยู่คือ ถูกชาวบ้าน
ปาก้อนหินใส่จนหัวแตกเลือดอาบ
1) ความหมายและตระกูลของกิเลส
กิเลส หมายถึง สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ดังพุทธพจน์ที่ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่
ว่าจิตนั้นแลเศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา” ในที่นี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้คำว่า “อุปกิเลส” อุป แปลว่า
เข้าไป หมายถึง อาการที่กิเลสเข้าไปทำให้จิตเศร้าหมองนั่นเอง
อีกคำหนึ่งที่มักใช้เรียกแทนกิเลสคือ คำว่า “อาสวะ” เหตุที่กิเลสมีชื่อเรียกว่า อาสวะ เพราะ
ไหลไป คือประสบสั่งสารทุกข์ต่อไป หมายถึงเป็นเหตุให้มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่ยังมีกิเลสอยู่ต้องได้รับ
ทุกข์จากการเวียนว่ายตายเกิดต่อไป อีกนัยหนึ่ง กิเลส ชื่อว่า อาสวะ เพราะเป็นสิ่งที่เข้ามาหมักดองอยู่ใน
จิตของเรานานแล้ว
ๆ
กิเลสจึงเป็นสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปแฝงตัวอยู่ในจิต ทำให้จิตเศร้าหมองคือเสื่อมสภาพลงจากเดิม
กิเลสจึงคล้าย ๆ กับเชื้อโรคที่เข้ามาอยู่ในร่างกายของเรา ซึ่งเชื้อโรคบางอย่างก็เข้ามาอยู่ในตัวของเรา
ตั้งแต่เรายังอยู่ในครรภ์มารดาด้วยซ้ำ กิเลสก็เช่นกันเข้ามาแฝงอยู่ในจิตเราตั้งแต่เรายังไม่คลอดออกมา
จากท้องมารดา หากถามว่ากิเลสมาจากไหน คำถามนี้จึงไม่ต่างกับถามว่าเชื้อโรคมาจากไหน คำตอบที่
เป็นกลางที่สุดคือ กิเลสก็ดี เชื้อโรคก็ดี เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม หรืออาจกล่าวได้ว่ามีอยู่แล้วในธรรมชาติ
เหมือนกับต้นไม้ ท้องฟ้า ภูเขา น้ำตก เป็นต้น
กิเลสนั้นแบ่งแยกย่อยออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้มากมาย แต่โดยรวมแล้วจัดเป็น 3 ตระกูล
ใหญ่ ๆ คือ ตระกูลโลภะ ตระกูลโทสะ และตระกูลโมหะ
2
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, อังคุลิมาลสูตร, มก. เล่ม 21 ข้อ 534 หน้า 152.
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์, อังคุลิมาลสูตร, มก. เล่ม 21 ข้อ 533 หน้า 150.
* พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต มก. เล่ม 32 ข้อ 50 หน้า 95.
* มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อรรถกถาอปัณณกสูตร, มก. เล่ม 34 หน้า 49-50.
52 DOU บ ท ที่ 3
บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า