ข้อความต้นฉบับในหน้า
ศาสนาพราหมณ์สอนว่า “พระพรหมเป็นเทพเจ้าสูงสุด ทรงเป็นผู้สร้างโลกและสรรพสิ่งตลอดทั้ง
กำหนดโชคชะตาของคนและสัตว์ เพราะฉะนั้นวิถีชีวิตของแต่ละคนจึงเป็นไปตามพรหมลิขิต แต่คนก็อาจ
เปลี่ยนวิถีชีวิตได้ หากทำให้พระพรหมเห็นใจและโปรดปราน โดยบวงสรวงอ้อนวอนและทำความดีต่อ
พระองค์” ในศาสนาคริสต์ก็มีการสวดมนต์อ้อนวอนต่อพระเจ้าเช่นเดียวกันดังที่บันทึกไว้ว่า “ผู้ใดเมื่อจะ
สวดมนต์ก็เข้าไปในห้องปิดประตู แล้วสวดมนต์อ้อนวอนต่อพระเจ้า พระองค์ทรงเห็นการกระทำของเขาตลอด
และจะประทานรางวัลแก่เขา”
นอกจากนี้ศาสนาเทวนิยมต่าง ๆ ยังสอนว่า “สิ่งของ” หรือ “ผู้มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์” สามารถช่วย
ล้างบาปเพื่อให้บุคคลอื่นบริสุทธิ์ได้ เช่น ในศาสนาชินโตจะมีการล้างบาปที่เรียกว่า “พิธีฮารัย” (Harai)
โดยนักบวชจะทำการแกว่งไม้กายสิทธิ์เหนือศีรษะหรือเหนือวัตถุสิ่งของที่ต้องการชำระ ในศาสนาพรามณ์
สอนว่า “น้ำ” สามารถชำระล้างบาปได้ ชาวอินเดียทั้งในสมัยพุทธกาลและในปัจจุบันจึงนิยมลงอาบน้ำ
ล้างบาปในแม่น้ำคงคาหรือแม่น้ำอื่น ๆ เช่น แม่น้ำพาหุกา เป็นต้น ในพระไตรปิฎกบันทึกถึงเรื่องนี้ไว้ว่า
“ชนเป็นอันมากยอมรับว่าแม่น้ำพาหุกาเป็นบุญ อนึ่งชนเป็นอันมาก พากันไปลอยบาปกรรมที่ตนทำแล้วใน
แม่น้ำพาหุกา
สำหรับพระพุทธศาสนานั้นสอนว่า “กมฺมุนา วตฺตตี โลโก : สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” กรรม
หมายถึง การกระทำโดยเจตนาทั้งทางกาย วาจา และใจ วิถีชีวิตของมนุษย์แต่ละคนขึ้นอยู่กับกรรมที่
ตนเองทำทั้งกรรมในอดีตชาติและในปัจจุบันชาติ มนุษย์ทุกคนจึงสามารถลิขิตชีวิตตนเองได้ หากต้องการ
ให้ชีวิตเจริญรุ่งเรืองก็จงทำกรรมดีหากต้องการให้ชีวิตตกต่ำก็จงทำกรรมชั่วไม่มีพระเจ้าที่คอยบงการชีวิตเรา
ไม่มีใครทำให้เราได้ดีขึ้นหรือตกต่ำได้นอกจากตัวของเราเองเท่านั้น ดังพระดำรัสว่า “อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแหละเป็นนาถะของตน” หรือ ตนเป็นที่พึ่งของตน แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็เป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น
แต่เราต้องดำเนินชีวิตด้วยตัวเราเองพระองค์ไม่อาจช่วยล้างบาปเพื่อให้เราบริสุทธิ์ได้ดังพระดำรัสว่า “บุคคล
ทำบาปด้วยตนเอง ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเทียว ไม่ทำบาปด้วยตน ย่อมหมดจดด้วยตนเทียว ความหมดจด
ความไม่หมดจดเป็นของเฉพาะตน คนอื่นจะยังคนอื่นให้หมดจดไม่ได้”
รศ. ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 214
2 รศ. ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 38.
3 รศ. ฟื้น ดอกบัว (2539), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 191.
4 ผศ. วนิดา ขำาเขียว (2543), ศาสนาเปรียบเทียบ, หน้า 272.
5 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มก. เล่ม 17 หน้า 436-437.
6
ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท มก. เล่ม 43 หน้า 390.
22 DOU บ ท ที่ 2 ความ มรู้ทั่วไป ท า ง พระ พุ ท ธ ศ า ส น า