การบรรพชาและอายุที่เหมาะสม GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 202
หน้าที่ 202 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงอายุที่เหมาะสมสำหรับการบรรพชาในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือว่าอายุที่เหมาะสมคือ 10 ถึง 19 ปี เพื่อให้เด็กสามารถดูแลตนเองได้ และผู้มีอายุ 20 ปีขึ้นไปสามารถอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ โดยมีการยกเว้นแก่ผู้ที่สามารถดูแลตนเองได้แม้จะอายุน้อยกว่า 10 ปี ข้อกำหนดทางพระวินัยยังห้ามบางประเภทจากการบวช เช่น ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง ซึ่งต้องอิงตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยรวมกล่าวถึงความสำคัญของการคัดเลือกผู้ที่จะเข้าบวชในศาสนาอย่างพิถีพิถัน

หัวข้อประเด็น

-อายุที่เหมาะสมในการบรรพชา
-การอุปสมบทในพระพุทธศาสนา
-ประเภทผู้ถูกห้ามบวช
-ข้อกำหนดในการบรรพชาตามพระวินัย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างไรก็ตามอายุที่เหมาะสมต่อการบรรพชาในปัจจุบันควรจะอยู่ที่ 10 ขวบ ถึง 19 ปี เพราะเด็กที่อายุ 10 ขวบ ขึ้นไปพอจะดูแลตนเองได้แล้ว ส่วนวัยที่ต่ำกว่านั้นยังต้องอาศัยการดูแลจากผู้ใหญ่ค่อนข้างมาก หากเข้ามาบวชจะเป็นภาระ ของพระอาจารย์พระพี่เลี้ยง ส่วนเด็กคนใดที่มีอายุน้อยกว่า 10 ขวบแต่สามารถดูแลตนเองได้ดีแล้วก็ควร จะให้บรรพชาได้ หรือแม้อายุจะน้อยและยังดูแลตนเองไม่ค่อยได้แต่พระอุปัชฌาย์เมตตาบรรพชาให้ อันนี้ ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของพระอุปัชฌาย์แต่ละรูปหรือแต่ละวัด สำหรับผู้มีอายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปนั้น สามารถอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้ หากอายุหย่อน กว่านี้ไม่สามารถอุปสมบทได้ แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีอายุครบสำหรับการบวชเป็นพระภิกษุแล้ว แต่ไม่ปรารถนาจะ อุปสมบท ต้องการจะบรรพชาเป็นสามเณรอย่างเดียวก็ได้เหมือนกัน การนับอายุ 20 ปีนั้นโดยทั่วไปคือ ใช้วันเดือนปีในปัจจุบันเป็นตัวตั้งและใช้วันเดือนปีเกิดเป็นตัวลบ หากมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีก็อุปสมบทได้ อย่างไรก็ตามพระพุทธองค์ก็อนุญาตไว้ว่า สามารถนับอายุได้ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ดังพระดำรัสว่า “จิตดวงแรกเกิดขึ้นแล้วในครรภ์ของมารดา คือวิญญาณดวงแรกปรากฏแล้ว ชื่อว่า ความเกิดของสัตว์มีเพราะอาศัยจิตนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้อุปสมบทกุลบุตรมีอายุครบ 20 ปี ทั้งอยู่ในครรภ์” กล่าวคือ หากรวมอายุตั้งแต่คลอดกับช่วงที่อยู่ในครรภ์ 9 เดือน แล้วได้ 20 ปี บริบูรณ์ก็สามารถอุปสมบทได้ 7.5.4 ผู้ถูกห้ามบวชและผู้ที่ไม่ควรให้บวช 1) ผู้ถูกห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาด ผู้ถูกห้ามอุปสมบทโดยเด็ดขาดมีอยู่ 3 ประเภทคือ ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง ผู้ที่เคยทำ อนันตริยกรรม 5 อย่าง และผู้ที่ทำผิดต่อพระพุทธศาสนา หากคณะสงฆ์ให้อุปสมบทไปโดยที่ไม่รู้ เมื่อ ทราบภายหลังจะต้องให้ลาสิกขา การห้ามอุปสมบทในที่นี้รวมถึงการห้ามบรรพชาเป็นสามเณรด้วย ประเภทที่ 1 ผู้ที่มีเพศและภาวะบกพร่อง 1) บัณเฑาะก์ หมายถึง กะเทย 2) อุภโตพยัญชนก หมายถึง คนที่มีอวัยวะเพศ 2 เพศ คือ มีทั้ง เพศหญิงและเพศชายในคนเดียวกัน 3) สัตว์ดิรัจฉาน กรณีการห้ามสัตว์ดิรัจฉานเข้ามาบวชนี้มีเหตุมากจากเมื่อครั้งพุทธกาลมีตัวนาคแปลงร่างเป็น มนุษย์แล้วเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุ วันหนึ่งขณะจำวัดอยู่ร่างก็ได้กลับกลายเป็นนาคเหมือนเดิม สร้าง ความตื่นตระหนกให้แก่ภิกษุผู้พบเห็นเป็นอันมาก เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทราบเรื่องจึงมีพุทธบัญญัติว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉาน ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว ต้องให้สึกเสีย พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค 1, มก. เล่ม 6 ข้อ 141 หน้า 354-355. 2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค, มก. เล่ม 6 ข้อ 127 หน้า 322-323. 192 DOU บ ท ที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ สัมมา สัมพุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More