ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทั้งหลายจะรู้ว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปักหลักอยู่ที่นั่น เมื่อถึงวาระที่ต้องกลับไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ก็จะได้
รับฟังข้อมูลเพิ่มเติมจากเพื่อนสหธรรมิกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติพระวินัยข้อไหนเพิ่มบ้าง
ทรงแสดงธรรมอะไรเพิ่มบ้าง เป็นต้น ซึ่งโดยปกติพระภิกษุในสมัยพุทธกาลจะกลับมาเข้าเฝ้าพระศาสดา
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งคือ ช่วงหลังออกพรรษา “ธรรมเนียมนี้ถือเป็นประเพณีที่ภิกษุปฏิบัติกันในสมัยนั้น
และในกรณีที่วัดต่าง ๆ มีพระภิกษุไม่พอที่จะให้การอุปสมบท จึงจำเป็นต้องกลับมาขอพระจากส่วนกลาง
การกลับมาแต่ละครั้งก็จะได้รับทราบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติม
แม้ระบบการสื่อสารในสมัยพุทธกาลจะไม่ทันสมัยอย่างในปัจจุบัน แต่อาศัยที่มีวัดพระเชตวันเป็น
ศูนย์กลาง และมีการบริหารจัดการสถานที่พักที่ดี จึงทำให้การสื่อสารข้อมูลของคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพมาก
ดังสังเกตได้จากการจัดเสนาสนะของพระทัพพมัลลบุตร เป็นต้น
พระทัพพมัลลบุตรได้จัดเสนาสนะดังนี้ คือ ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระสูตร ท่านก็จัดเสนาสนะ
รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้ซักซ้อมพระสูตรกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระวินัย ท่านก็จัดเสนาสนะ
รวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้วินิจฉัยพระวินัยกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ทรงพระอภิธรรม ท่านก็จัด
เสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้สนทนาพระอภิธรรมกัน ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ได้ฌาน ท่านก็จัด
เสนาสนะรวมภิกษุเหล่านั้นไว้แห่งหนึ่ง เพื่อให้เจริญฌานสมาบัติกัน ภิกษุเหล่าใดชอบกล่าวดิรัจฉานกถา ท่าน
ก็จัดเสนาสนะไว้แห่งหนึ่ง
การจัดเสนาสนะแบบนี้ได้ช่วยเกื้อกูลต่อการสื่อสารข้อมูล และสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นแก่
สงฆ์อย่างมาก ด้วยรูปแบบการสื่อสารนี้ และเพราะการมีศูนย์กลางพระพุทธศาสนานี้เองที่ทำให้พระธรรม
วินัย 84,000 พระธรรมขันธ์ตกทอดมาถึงรุ่นพวกเราในทุกวันนี้ได้ และเป็นแบบอย่างในการสร้างเอกภาพ
ให้เกิดขึ้นแก่พุทธบริษัททั่วโลกด้วย
ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ วัดอันเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นมีทุกพุทธันดร และ
ลักษณะการซื้อที่ดินเพื่อสร้างวัดนั้นมีความคล้ายคลึงกันคือ
ในสมัยพระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อปุนัพพสุมิตตะให้ช่างทำ “อิฐทองคำ” ยาว 1 ศอก
กว้าง 1 คืบ สูง 8 นิ้ว แล้วนำมาปูบนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด
ในสมัยพระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อสิริวัฑฒิได้ปูที่ดินด้วย “ผาลไม้เส้าทองคำ” เพื่อซื้อ
ที่ดินสำหรับสร้างวัดถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสงฆ์
ในสมัยพระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่อโสตถิยะได้ให้ช่างทำ “เท้าช้างทองคำ” แล้วนำมา
ปูบนที่ดินเพื่อซื้อที่สร้างวัด
วัด
ในสมัยพระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า เศรษฐีชื่ออัจจุตะได้ปูที่ดินด้วย “อิฐทองคำ” เพื่อซื้อที่สร้าง
- พระวินัยปิฎก มหาวรรค มก. เล่ม 2 ข้อ 228 หน้า 449.
2 พระวินัยปิฎก มหาวรรค มก. เล่ม 3 ข้อ 541 หน้า 448.
บทที่ 9 ศูนย์ ก ล า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า ข อ ง โ ล ก DOU 251