การศึกษาและหลักธรรมในพระไตรปิฎก GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 176
หน้าที่ 176 / 270

สรุปเนื้อหา

การเรียนการสอนเน้นหลักธรรมที่เกี่ยวกับสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตามบทเรียนในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น GB 203, GB 304, และ DF 101-404 นักศึกษาได้รับความรู้เพื่อความเข้าใจในชีวิตและการพัฒนาสังคม การศึกษาเหล่านี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการทำความดีและการปฏิบัติธรรม โดยเฉพาะเมื่อได้ฟังถึงทุกข์ในนรกและคุณค่าของการทำบุญ นักเรียนจะเกิดความเบื่อหน่ายในสังขารและตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาเพื่อการหลุดพ้น ความไม่เที่ยงของสังขารถูกกล่าวถึงเพื่อกระตุ้นให้เกิดการระมัดระวังในการกระทำการดี ตลอดจนการเข้าใจถึงอัตภาพและความเป็นไปของสภาพธรรมชาติในจักรวาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักปรับตัวและอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างมีสติและปัญญา.

หัวข้อประเด็น

- การศึกษาในพระไตรปิฎก
- หลักธรรมทางสังคมศาสตร์
- วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
- ความไม่เที่ยงของสังขาร
- การทำหน้าที่กัลยาณมิตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นักศึกษาจะได้เรียนหลักธรรมในหมวดสังคมศาสตร์อย่างละเอียดในวิชา GB 203 สูตรสำเร็จ การพัฒนาสังคมโลก, GB 304 สูตรสำเร็จการพัฒนาเศรษฐกิจและองค์กร, GB 406 สรรพศาสตร์ในพระ ไตรปิฎก และกลุ่มวิชาการทำหน้าที่กัลยาณมิตร 4 วิชา ได้แก่ DF 101 การทำหน้าที่กัลยาณมิตรเบื้องต้น DF 202 ทักษะการทำหน้าที่กัลยาณมิตร DF 303 เครือข่ายองค์กรกัลยาณมิตร และDF 404 ศาสนศึกษา 6.6.2 หลักธรรมหมวดวิทยาศาสตร์ หมวดวิทยาศาสตร์นี้เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ จักรวาลและภพภูมิ จุดประสงค์ที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้ก็เพื่อให้ทราบตำแหน่งที่ตั้งของภพภูมิต่าง ๆ เพื่อให้ทราบความเป็นอยู่ ของสิ่งมีชีวิตแต่ละภพภูมิ เช่น ความสุขสบายของเทวดา เมื่อพุทธบริษัทได้ฟังแล้วจะได้มีกำลังใจในการ สร้างบุญให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป หากเป็นเรื่องนรกก็จะทำให้ผู้ฟังมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป เพราะชีวิต ของสัตว์ในนรกที่ปรากฏในพระไตรปิฎกนั้นทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสอย่างที่ไม่อาจจะเทียบได้กับความ ทุกข์ในโลกมนุษย์ ความร้อนในมหานรกนั้นร้อนยิ่งกว่าดวงอาทิตย์หลายร้อยหลายพันเท่า หากนำดวง อาทิตย์ใส่เข้าไปในมหานรกก็จะหลอมละลายไปในพริบตา นอกจากนี้บางครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงความไม่เที่ยงของโลกนี้เพื่อให้ภิกษุที่ฟังอยู่เกิด ความเบื่อหน่ายในสังขารแล้วตั้งใจเจริญสมาธิภาวนาเพื่อการหลุดพ้นดังที่ปรากฏในสุริยสูตรว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้พระนครเวสาลี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขุนเขาสิเนรุ โดยยาว 84,000 โยชน์ โดยกว้าง 84,000 โยชน์ หยั่งลงใน มหาสมุทร 84,000 โยชน์ สูงจากมหาสมุทรขึ้นไป 84,000 โยชน์ มีกาลบางคราวที่ฝนไม่ตก หลายแสนปี เมื่อฝนไม่ตก พืช ป่าไม้ใหญ่ ย่อมเฉา เหี่ยวแห้ง ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยง ไม่น่าชื่นชม ควร เบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ เพราะพระอาทิตย์ดวงที่ 2 ปรากฏ แม่น้ำลำคลองทั้งหมด ย่อมงวดแห้ง ไม่มีน้ำ ฉันใด สังขารก็ฉันนั้น เป็น สภาพไม่เที่ยง... ควรหลุดพ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 3 ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวง ที่ 3 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 4 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 5 ปรากฏ... อาทิตย์ดวง ที่ 6 ปรากฏ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลบางครั้งบางคราว โดยล่วงไปแห่งกาลนาน พระอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ เพราะอาทิตย์ดวงที่ 7 ปรากฏ แผ่นดินใหญ่นี้และขุนเขาสิเนรุ ไฟจะติดทั่วลุกโชติช่วงมีแสงเพลิงเป็นอัน เดียวกัน....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายก็ฉันนั้น เป็นสภาพไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนไม่น่าชื่นชม ควรจะเบื่อหน่าย ควรคลายกำหนัด ควรหลุดพ้น ในสังขารทั้งปวง.... *พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต, สุริยสูตร, มก., เล่ม 37 ข้อ 63 หน้า 214-219. 166 DOU บ ท ที่ 6 พระ ธ ร ร ม : คำสั่ง ส อ น ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More