ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 3
ธรรมชาติของชีวิตทางพระพุทธศาสนา
3.1 องค์ประกอบของชีวิต
องค์ประกอบของชีวิตในที่นี้จะกล่าวถึง 4 ประเด็นคือ ขันธ์ 5, สัณฐานที่ตั้งและธรรมชาติของจิต,
ขันธ์ส่วนละเอียด และขันธ์ตามทัศนะของพระมงคลเทพมุนี
3.1.1 ขันธ์ 5
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ในภารสูตรว่า มนุษย์แต่ละคนประกอบด้วยขันธ์ 5 ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนา
ขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
ขันธ์ แปลว่า หมู่ พวก หมวด หรือ กอง ดังบทว่า “ขนฺธโลเก ได้แก่ ขันธ์ 5 มีรูปเป็นต้นนั่นแล
ชื่อว่าโลก ด้วยอรรถว่าเป็นกอง
ขันธ์ 5 นี้อาจแบ่งออกเป็น 2 กองก็ได้คือ รูปขันธ์ 1 และ นามขันธ์ 4 ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญา
ขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์
รูปขันธ์ หมายถึง สรีระ หรือ ร่างกาย ดังบทว่า รูป ได้แก่ สรีระ หรือ บทว่า รูป์ ได้แก่ ร่างกาย
จริงอยู่แม้ร่างกายก็เรียกว่ารูป
ในเมื่อ รูปขันธ์ หมายถึง “สรีระ” นามขันธ์ จึงหมายถึง “อสรีระ” คือไม่ใช่ร่างกาย ก็คือ จิต
นั่นเอง ดังที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎกว่า “ทรงคม เอกจร อสรีร์ คูหาสย์ เย จิตต์ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ
มารพนธนา”
บทว่า อสรีร์ นี้บางท่านแปลไว้ว่า ไม่มีสรีระ คือ ไม่มีรูปร่าง ซึ่งไม่น่าจะถูกต้อง เหมือนกับคำว่า
อมนุษย์ หมายถึง ไม่ใช่มนุษย์ ไม่ได้หมายถึง ไม่มีมนุษย์
จิตมีรูปร่างคือเป็น “ดวงกลมใส” แต่เนื่องจากเป็นธาตุละเอียดมองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ ผู้แปล
ความหมายของจิตดังกล่าวจึงเข้าใจว่าจิตไม่มีรูปร่าง
3
1 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, มก. เล่ม 27 ข้อ 49 หน้า 58-59.
* สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส, มก. เล่ม 65 หน้า 106.
มโนรถบูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ติกนิบาต, อรรถกถาติตถายตนสูตร, มก. เล่ม 34 หน้า 285.
* ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 หน้า 30.
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา, มก. เล่ม 53 หน้า 63.
* สุตฺตนฺตปิฎก ขุททกนิกายสฺส ขุททกปาฐ, ภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 25 ข้อ 13 หน้า 19-20.
36 DOU บ ท ที่ 3 ธ ร ร ม ช า ติ ข อ ง ชี วิ ต ท า ง พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า