ข้อความต้นฉบับในหน้า
มีปัญญาก่อน แล้วนำปัญญาคือความรู้ที่ได้ไปสอนคนอื่นต่อไป สำหรับอภัยทานจัดเข้าในเมตตาบารมีได้ เพราะ
หากปราศจากความเมตตาแล้ว ก็ไม่อาจจะให้อภัยแก่ผู้ที่ทำความผิดต่อเราได้
ศีลบารมี คำว่า “ศีล” มาจากบทว่า “สี” ในภาษาบาลี ได้แก่ “การไม่ล่วงละเมิดทางกายและ
วาจา คือ ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 และ ปาฏิโมกขสังวรศีล เป็นต้น” การไม่ล่วงละเมิดในที่นี้คือ การไม่ทำความผิด
ทางกายและวาจานั่นเอง
ศีล 5 เป็นศีลของคฤหัสถ์ทั่ว ๆ ไป ได้แก่ การไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม
ไม่พูดปด และไม่ดื่มสุรา
ศีล 8 เป็นศีลของคฤหัสถ์ที่ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ งดเว้นเมถุนธรรม และสิ่งอื่นใดอันเป็น
ข้าศึกต่อการประพฤติพรหมจรรย์ ศีล 8 นั้นหากสมาทานในวันพระเรียกว่า อุโบสถศีล คำว่า สมาทาน
แปลว่า การถือเอารับเอาเป็นข้อปฏิบัติ
ศีล 10 เป็นศีลของสามเณร
ส่วนปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นศีลของพระภิกษุซึ่งมีทั้งหมด 227 ข้อ
เนกขัมมบารมี คำว่า “เนกขัมมะ” มาจากบทว่า “เนกขมุม” ในภาษาบาลี แปลว่า การสลัดออก
จากกามทั้งหลาย คือการออกบวชนั่นเอง ดังบทว่า “เนกขมม์ อภินิกขม คือ ออกจากเรือนเพื่อเนกขัมมะ
ได้แก่ บวช” หากบวชเป็นสามเณรจะเรียกว่า บรรพชา หากบวชเป็นพระภิกษุจะเรียกว่า อุปสมบท แต่
ทั้งนี้ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุทุกรูปจะต้องผ่านขั้นตอนการบรรพชาเป็นสามเณรก่อน
ปัญญาบารมี คำว่า “ปัญญา” มาจากบทว่า “ปัญญา” ในภาษาบาลี ได้แก่ “เครื่องทำให้รู้ชัด”
กล่าวคือ เป็นเครื่องทำอรรถะนั้น ๆ ให้ปรากฏ
ๆ
คำว่า อรรถะ แปลว่า เนื้อความ หรือ ความหมายของข้อความหรือคำนั้น ๆ
คำว่า ปัญญา ในความหมายทั่ว ๆ ไป แปลว่า “ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดอันเกิดจาก
การเรียนและการคิด”
ปัญญาในพระพุทธศาสนามี 3 ประเภทคือ
1) สุตมยปัญญา
2) จินตามยปัญญา
ปัญญาสําเร็จด้วยการฟัง
ปัญญาสำเร็จด้วยการคิด
3) ภาวนามยปัญญา
ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรม
- ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ, มก.เล่ม 39 หน้า 311-312.
* สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค, มก. เล่ม 68 หน้า 496,
ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย จริยาปิฎก, มก. เล่ม 74 หน้า 278.
* สัทธัมมปกาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อรรถกถาสุตมยญาณทเทส, มก. เล่ม 68 หน้า 35.
* ราชบัณฑิตยสถาน. (2525), พจนานุกรม, (ฉบับอิเล็กทรอนิกส์)
5 พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค, สังคีติสูตร, มก. เล่ม 16 ข้อ 228 หน้า 173.
บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 115