ข้อความต้นฉบับในหน้า
สำหรับศีลข้อ 3 ให้เปลี่ยนจากเว้นการประพฤติผิดในกามเป็นเว้นจากเมถุนธรรม
3) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรมไม่เชื่อมงคล หมายถึง ไม่ถือฤกษ์ยาม แต่ให้เชื่อกรรมไม่เชื่อ
มงคลคือ ทำดีเมื่อไร ถือว่าเป็นเวลาดี ฤกษ์ดี ยามดีเมื่อนั้น
4) ไม่แสวงหาเขตบุญภายนอกพระพุทธศาสนา หมายถึง ไม่ไปขวนขวายทำบุญกับนักบวช
นอกพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในนักบวชที่เป็นมิจฉาทิฏฐิเพราะจะทำให้อุบาสก อุบาสิกาเหล่านั้นมี
โอกาสเห็นผิดตามไปด้วย
5) สนับสนุนพระพุทธศาสนา หมายถึง ให้การสนับสนุนด้านต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนา ได้แก่
ถวายปัจจัยไทยธรรมแก่พระภิกษุสามเณร บริจาคทรัพย์เพื่อใช้ในการก่อสร้างศาสนสถานในวัด เป็นเจ้า
ภาพงานบวช ช่วยเป็นธุระจัดการงานบุญต่าง ๆ ของวัด บางท่านก็ช่วยเรื่องการรักษาพยาบาลภิกษุสงฆ์
เช่น หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นต้น บางท่านช่วยเผยแผ่และปกป้องพระพุทธศาสนา เช่น จิตตคฤหบดี อุบาสก
ท่านนี้เป็นเลิศในการแสดงธรรม มีความสามารถในการสอนธรรมะเฉกเช่นพระธรรมกถึกทั้งหลาย
เมื่ออุบาสก อุบาสิกาปฏิบัติตามธรรมทั้ง 5 ประการนี้แล้วย่อมได้ประโยชน์อย่างน้อย 2 ประการ
คือ ประการแรก ได้ประโยชน์แก่ตนเอง คือ ได้บุญได้บารมีอันจะส่งผลให้มีความสุขความเจริญทั้งในชาตินี้
และภพชาติเบื้องหน้า ประการที่สอง ได้ประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา เพราะเป็นการสนับสนุนให้พระพุทธ
ศาสนาเจริญรุ่งเรือง
8.4 ความสำคัญของอุบาสก อุบาสิกา
ความสำคัญของอุบาสก อุบาสิกามีอย่างน้อย 2 ประการคือ ให้การสนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุ
สามเณร และให้การสนับสนุนงานพระพุทธศาสนา หากปราศจากอุบาสก อุบาสิกาผู้มีศรัทธาให้การบำรุง
พระภิกษุสามเณรแล้ว พระพุทธศาสนาก็ไม่สามารถตั้งอยู่ได้ ด้วยเหตุนี้พุทธบริษัทจึงต้องมี 2 ประเภทคือ
นักบวช ได้แก่ ภิกษุสามเณร และ คฤหัสถ์ผู้ให้การสนับสนุน ได้แก่ อุบาสก อุบาสิกา ทั้งสองประเภทนี้มี
ความสำคัญเหมือนกัน จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ พระพุทธศาสนาเปรียบเสมือนท่อนไม้ 2 อันที่ตั้งพิง
กันอยู่ หากนำอันใดอันหนึ่งออก ไม้อีกท่อนหนึ่งก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้ต้องล้มไปด้วย
8.4.1 ให้การสนับสนุนปัจจัย 4 แก่ภิกษุสามเณร
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มี
อุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ (ที่อยู่อาศัย) และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร (ยารักษาโรค)
แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงาม
ในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์
บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด
ที่
บทที่ 8 อุ บ า ส ก อุบาสิกา : ผู้นั่งใกล้ พระรัตนตรัย DOU 225