ความสำคัญของการกลับตัวและสร้างบารมีในศาสนาพุทธ GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 145
หน้าที่ 145 / 270

สรุปเนื้อหา

บทความกล่าวถึงการเรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต และการกลับตัวเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงในเส้นทางพุทธศาสนา แม้ทุกคนที่ทำผิดร้ายแรง เช่น พระเทวทัตและพระเจ้าอชาตศัตรูก็ยังมีโอกาสในการกลับตัวและสร้างบารมี อีกทั้งมีการแนะนำให้นักศึกษาได้เรียนรู้เพิ่มเติมในวิชาที่เกี่ยวข้องกับการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและชาดกวิถีนักสร้างบารมี โดยทุกคนควรเข้าใจว่าการไม่ทิ้งอดีตไว้เป็นสิ่งสำคัญในการเดินหน้าสู่ความสำเร็จ

หัวข้อประเด็น

-การกลับตัวและพัฒนาตนเอง
-การสร้างบารมีในพุทธศาสนา
-บทเรียนจากความผิดพลาดในอดีต
-การศึกษาเกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-กิจกรรมศึกษาหลังเรียนเรื่องพระพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากนั้นให้หันกลับไปดูว่าทำไมเราจึงล้ม เมื่อพบสาเหตุแล้วก็ให้ระมัดระวังตัวและก้าวเดินต่อไปอย่าง องอาจจนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง ใครที่มักนำชีวิตและความคิดคำนึงไปจมอยู่กับความผิดในอดีต ไม่มีทางที่จะก้าวหน้าและประสบ ความสำเร็จได้เลย ขอให้ทราบว่า ในพระศาสนาของพระสมณโคดมพุทธเจ้านี้ ไม่มีใครทำผิดร้ายแรงกว่า พระเทวทัตคือถึงขนาดส่งคนไปปลงพระชนม์พระศาสดา ถึงกระนั้นท่านก็ยังกลับตัวได้ แม้ตอนนี้จะยังรับ โทษอยู่ในอเวจีมหานรก แต่ต่อไปเมื่อบุญเก่ารวมกับบุญใหม่จะส่งผลให้ท่านตรัสรู้เป็นพระปัจจเจกพุทธเจ้า พระนามว่าอัฏฐิสสระ” พระเจ้าอชาตศัตรูก็เช่นกันแม้จะเคยทำชั่วขนาดปลงพระชนม์พระราชบิดา และ ตอนนี้รับกรรมอยู่ในโลหกุมภีนรก แต่เพราะการที่ท่านกลับตัวได้และทำบุญไว้มากก่อนสวรรคต ต่อไปท่าน ก็จะตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามว่าชีวิตวิเสส เรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นยังมีประเด็นที่น่าศึกษาอีกพอสมควร นักศึกษาจะได้เรียน เพิ่มเติมในวิชา GL 204 ศาสตร์แห่งการเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และวิชา SB 405 ชาดกวิถีนักสร้าง บารมี อันเป็นประวัติการสร้างบารมีในอดีตชาติของพระโพธิสัตว์ กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 5 พระพุทธ : พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 5 ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 5 แล้วจึงศึกษาบทที่ 6 ต่อไป - ธัมมปทัฏฐกถา อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 40 หน้า 199. สุมังคลวิลาสินี อรรถกถาทีฆนิกาย สีลขันธวรรค, มก. เล่ม 111 หน้า 496. บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุทธเจ้า DOU 135
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More