การบริจาคตับเพื่อช่วยชีวิต: เรื่องราวของแม่และลูก GB 101 ความรู้พื้นฐานทางพระพุทธศาสนา หน้า 131
หน้าที่ 131 / 270

สรุปเนื้อหา

เนื้อเรื่องเล่าถึงเด็กหญิงที่ทราบว่าพ่อป่วยเป็นมะเร็งตับขั้นสุดท้าย และได้ตัดสินใจที่จะบริจาคตับให้พ่อโดยไม่ลังเล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรักและการเสียสละในครอบครัว นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงหลักการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ที่มีศีลและการให้ทานเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาจิตใจ การสละชีวิตเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นยังเป็นเรื่องที่นำเสนอในบริบททางศาสนา มีการอ้างอิงถึงพระเวสสันดร ในการสร้างบารมีและการออกบวชเปรียบเทียบเพื่อให้เข้าใจถึงการทำความดีและช่วยเหลือกันในทัศนคติที่ลึกซึ้ง

หัวข้อประเด็น

- การบริจาคตับ
- ปัญหามะเร็งตับ
- ความรักในครอบครัว
- พระโพธิสัตว์
- หลักการสร้างบารมี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“เพื่อบริจาคตับให้พ่อ” มารดาของเด็กให้สัมภาษณ์ว่า สามีป่วยเป็นมะเร็งตับขั้นสุดท้าย แพทย์วินิจฉัยว่า จะมีชีวิตอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน ที่ผ่านมาตนปิดบังไม่ให้ลูกสาวรู้เพราะลูกรักพ่อมาก แต่ปลายเดือนก่อนลูก เจอใบคำวินิจฉัยของแพทย์ในกระเป๋าของตน จึงรู้เรื่องทั้งหมด ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552 ตน ได้ไปเยี่ยมสามีที่โรงพยาบาล พอกลับมาถึงบ้านพบลูกนอนสลบไสลไม่ได้สติ เจอจดหมายวางอยู่ข้างๆ เขียนไว้ว่า “แม่ หนูขอโทษที่อยู่กับแม่ไม่ได้แล้วนะ หลังจากหนูตายไปแล้วช่วยเอาตับของหนูไปช่วยพ่อด้วย จิตใจที่คิดสละชีวิตเพื่อการบริจาคตับช่วยเหลือบิดาของ ด.ญ.เฉิน จิน นั้นไม่ต่างกับจิตใจของ พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย หากแต่พระโพธิสัตว์นั้นไม่ได้หวังช่วยบิดาของตนเป็นเพียงผู้เดียว แต่หวังช่วยตน และชาวโลกจำนวนมากให้พ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร เพื่อเขาเหล่านั้นจะได้ไม่ต้องมาทน ทุกข์ทรมานกับการเกิด แก่ เจ็บ ตายอีกต่อไป อีกอย่างหนึ่งในเมื่อพระโพธิสัตว์สามารถสละอวัยวะและชีวิตเพื่อพุทธภูมิได้ ดังนั้นการจะสละ พระราชโอรสพระราชธิดาและพระมเหสีดังเช่นในสมัยที่พระองค์เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรจึงเป็น เรื่องที่ทำได้ไม่ยาก เหล่าทหารหาญสามารถสละลูกและเมียไว้เบื้องหลัง แล้วออกรบเพื่อป้องกันชาติบ้านเมือง ฉันใด พระโพธิสัตว์แต่ละพระองค์ก็ฉันนั้นเมื่อจะออกรบกับกองกิเลสและปราบกิเลสเพื่อก้าวขึ้นสู่พุทธภูมิ จึงจำเป็นต้องสละลูกและภรรยาเช่นเดียวกัน แต่เมื่อพระองค์บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ก็ทรงย้อน กลับมาโปรดลูกและภรรยาให้หลุดพ้นจากทุกข์ตามพระองค์ไปด้วย หากกล่าวในฐานะหัวหน้าครอบครัว แล้วถือว่า พระพุทธองค์ทรงทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่าใคร ๆ ในโลกคือ สามารถขจัดทุกข์บำรุงสุขให้คนใน ครอบครัวและปวงชนจำนวนมากได้อย่างถาวร 5.4.5 หลักการสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ หลักการสร้างบารมีแต่ละประเภทปรากฏอยู่ในคำกล่าวของสุเมธดาบสโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นชาติแรก ที่ท่านได้รับการพยากรณ์จากพระทีปังกรพุทธเจ้าว่า จะได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคต หลักการสร้างบารมีต่าง ๆ ที่สุเมธดาบสกล่าวไว้มีดังนี้ ทานบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ หม้อน้ำเต็มเปี่ยม ใครผู้ใดผู้หนึ่งคว่ำปากลง น้ำย่อมไหลออกหมด น้ำย่อมไม่ขังอยู่ในหม้อนั้น ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่งและปานกลาง จงให้ทานให้หมด เหมือนหม้อน้ำที่เขาคว่ำปากลงไว้ ฉันนั้น ศีลบารมี หากท่านปรารถนาเพื่อจะบรรลุพระโพธิญาณ จามรีหางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม ปลด ขนหางออกไม่ได้ก็ยอมตายในที่นั้น ฉันใด ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ จงรักษาศีลไว้ทุกเมื่อ เหมือนจามรี รักษาขนหาง ฉันนั้น เนกขัมมบารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุพระโพธิญาณ บุรุษอยู่มานานในเรือนจำ ลำบาก เพราะความทุกข์ มิได้ทำความยินดีให้เกิดในเรือนจำนั้น แสวงหาความพ้นออกไปอย่างเดียว ฉันใด ท่านก็ 1 * หนังสือพิมพ์ข่าวสด (2552), จีนสลด ด.ญ. ฆ่าตัวคิดให้ตับช่วยพ่อ (ออนไลน์). บทที่ 5 พ ร ะ พุ ท ธ : พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า DOU 121
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More