ข้อความต้นฉบับในหน้า
ดังนั้นพระสงฆ์ในความหมายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือ อริยบุคคล 4 คู่คือ 8 บุคคล อันหมายถึง
พระอริยสงฆ์ ไม่ได้หมายถึง พระสงฆ์ปุถุชนทั่ว ๆ ไป ดังในอรรถกถาที่ว่า “คำว่า บุคคล 8 คือผู้ตั้งอยู่ใน
มรรค 4 ชื่อว่า พระอริยสงฆ์”
พระอริยสงฆ์ที่ชาวพุทธรู้จักกันในสมัยพุทธกาล ได้แก่ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ
พระมหากัจจายนเถระ พระมหากัสสปเถระ พระอนุรุทธเถระ พระอานนเถระ พระอุบลวรรณเถรี พระ
มหาปชาบดีโคตมีเถรี และ พระภัททากาปิลานีเถรี เป็นต้น
แม้ฆราวาสที่ได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล เช่น เป็นพระโสดาบัน เป็นต้น ก็ถือเป็นพระอริย
สงฆ์ตามความหมายนี้ แต่เป็นด้วยคุณภายในหรือเป็นการบวชภายในนั่นเอง
สำหรับพระสงฆ์ปุถุชนทั่ว ๆ ไปนั้นท่านเรียกว่า “พระสมมติสงฆ์”
คำว่า สมมติ แปลว่า รู้พร้อมกัน, รู้กันพร้อมหน้า ใช้ในความหมายทั่วไปว่า อนุญาต, เลือกเฟ้น
ยินยอม, ยอมรับ, พิจารณา
สมมติ ในคำไทยใช้ในความหมายว่า รู้สึกนึกคิดเอาเอง, ต่างว่า ถือเอาว่า, ข้อคิดเห็นที่ใช้เป็น
มูลฐานแห่งการหาเหตุผลหรือการค้นคว้าทดลอง
สมมติสงฆ์ หมายถึง พระสงฆ์โดยสมมติ คือเป็นพระสงฆ์โดยการยอมรับกันในหมู่สงฆ์ หลังจาก
การได้ผ่านการคัดเลือกเฟ้นคุณสมบัติถูกต้องและผ่านพิธีกรรมที่เรียกว่าอุปสมบทกรรมครบถ้วนตามพระ
วินัยแล้ว ใช้เรียกพระสงฆ์ที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เช่น พระสงฆ์ทั่วไปในปัจจุบัน ถ้าได้บรรลุมรรคแล้ว เช่น
เป็นพระโสดาบัน เรียกว่า อริยสงฆ์
คำว่า พระสงฆ์ มาจาก “บทว่า สงฺฆ หรือ สงฆ์ ในภาษาบาลี ได้แก่ ภิกษุสงฆ์”
เมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์ในแง่ของจำนวนแล้วอาจหมายถึง “พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเพียงรูปเดียว” หรือ
หมายถึง “หมู่พระภิกษุตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป” ก็ได้ เพราะคำว่า สงฆ์ แปลว่า “หมู่” ก็ได้ดังในอรรถกถาที่ว่า
“บทว่า สงฺฆา วา คณา วา ได้แก่ หมู่ หรือ คณะ คือ ชุมนุมชน”
คำที่มักใช้แทนพระสงฆ์มีดังนี้ “พระ, ภิกษุ, พระภิกษุ, พระภิกษุสงฆ์, บรรพชิต, สมณะ”
คำว่า พระ มาจากคำว่า วร ในภาษาบาลี แปลว่า ประเสริฐ เลิศ วิเศษ ดังนั้นคำว่า พระ จึง
แปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐ ผู้เลิศ ผู้วิเศษ
6
คำว่า ภิกษุ มาจากบทว่า “ภิกฺขุ ในภาษาบาลี แปลว่า เห็นภัยในสังสารวัฏ”
1 ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, อรรถกถามหาอัสสปุรสูตร, มก.เล่ม 19 หน้า 218.
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) (2548), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, หน้า 1006.
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรคาถา อรรถกถานาคิตเถรคาถา, มก. เล่ม 50 หน้า 415.
* ปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย อิติวุตตกะ, อรรถกถาปสาทสูตร, มก. เล่ม 45 หน้า 566-567
* พระธรรมกิตติวงศ์ (2551), พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, หน้า 635
สัทธัมมปัชโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย มหานิทเทส คุหัฏฐกสุตตนิทเทส, มก. เล่ม 65 หน้า 291.
บทที่ 7 พระสงฆ์ : ส า ว ก ข อ ง พ ร ะ ส ม ม า สั ม พุ ท ธ เจ้า
DOU 181